การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

100 แก่ชุมชนประมงท้องถิ่น รวมทั้งช่วยเหลือ สนับสนุนการดำเนินงาน โครงการหรือกิจกรรมของชุมชน เผยแพร่ความรู้หรือข้อมูลข่าวสาร ซึ่งการขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นเป็นการส่งเสริม การมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนประมงท้องถิ่นกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการ ทรัพยากรประมงแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู เพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ สร้างความ มั่นคงทางอาหารให้กับชุมชน ส่งเสริมการแปรูปสัตว์น้ำ พัฒนาอาชีพ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากสินค้า ประมง ส่งเสริมการตลาดเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า พัฒนาต่อยอดกิจกรรมจากการประกอบ อาชีพการทำประมงให้เกิดความมั่นคง ชุมชนเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ (สำนักเลขาธิการ นายกรัฐมนตรี (ออนไลน์), 2565) เป็นเครือข่ายในการเฝ้าระวัง ขจัดปัญหา IUU Fishing หรือการทำ ประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุมอีกด้วย (กรมประชาสัมพันธ์ (ออนไลน์), 2562) ซึ่งปัจจุบันมีองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมง รวมจำนวนทั้งสิ้น 2,535 องค์กร จำนวนสมาชิก 95,427 ราย ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยแบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านประมง ทะเลชายฝั่ง ด้านประมงทะเลนอกชายฝั่ง ด้านประมงน้ำจืด ด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และด้านการ แปรรูปสัตว์น้ำ (กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง(ออนไลน์), 2564) เมื่อพิจารณาจาก หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น พบว่า องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นที่มีสิทธิ ขึ้นทะเบียนกับกรมประมงจะต้องเป็นองค์กรซึ่งมีลักษณะเป็นนิติบุคคล คณะบุคคล หรือองค์กรอื่นใด ที่มีวัตถุประสงค์หรือกิจกรรมเกี่ยวข้องโดยตรงกับการประมงในท้องถิ่น และมีสมาชิกรวมกัน ไม่น้อยกว่า 7 คน โดยไม่อยู่ในครอบครัวเดียวกันมีสัญชาติไทย เป็นผู้ประกอบอาชีพการประมง และ มีภูมิลำเนาหรือประกอบอาชีพการประมงอยู่ในเขตพื้นที่ชุมชนประมงท้องถิ่น โดยมีประมงจังหวัด เป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติ หรือเพิกถอนการขึ้นทะเบียน (ประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น พ.ศ. 2558, 2558) สอดคล้องกับ งานวิจัยเรื่องแนวทางการดำรงชีพอย่างยั่งยืนของชุมชนประมงพื้นบ้าน กรณีศึกษาพื้นที่อ่าวไทย ตอนกลางของ (ปิ่นแก้ว ทองกำเหนิด et al., 2561) ที่พบว่าการสร้างการมีส่วนร่วมที่เป็นรูปธรรมคือ การจัดตั้งองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น ซึ่งได้เข้าไปเป็นตัวแทนในคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด ร่วมขับเคลื่อนและดูแลรักษา ฟื้นฟูทรัพยากรประมง จึงเห็นได้ว่าองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นเป็นเพียง กลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันแล้วไปขึ้นทะเบียนกับกรมประมงเท่านั้น จากรูปแบบการจัดการของกรมประมงเห็นได้ว่าเป็นไปในแนวทางเดียวกับกรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 มาตรา 16 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสนับสนุนชุมชนชายฝั่งและองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ในการบริหารจัดการ ปลูก บำรุงรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง มีการขึ้นทะเบียนชุมชนชายฝั่งในพื้นที่จังหวัดชายทะเลจำนวนทั้งสิ้น 542 กลุ่ม (กองจัดการชุมชนชายฝั่งและเครือข่าย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ออนไลน์), 2565) และ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 มาตรา 35 (3) มีอำนาจหน้าที่ส่งเสริมและ สนับสนุนให้มีการจัดตั้งและพัฒนากิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบล รวมถึงการประสานและร่วมมือ กับราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง องค์กรภาคเอกชนและองค์กรภาคประชาสังคม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3