การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
102 สภาปกครองท้องถิ่นในการดำเนินการคุ้มครองประมงพื้นบ้านโดยมีอำนาจจัดการในเขตน่านน้ำ ภายใน 5 ไมล์ทะเลซึ่งวัดจากทะเลอาณาเขต หรือเกาะปะการัง หรือเกาะใด ๆ และมีอำนาจกำหนด มาตรการรวมถึงพัฒนาการประมงในท้องถิ่น กฎหมายฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายด้านบูรณาการระหว่าง หน่วยงานภาครัฐกับสภาปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดให้มีการร่วมปรึกษาหารือถึงผลกระทบจาก มาตรการที่เสนอ รวมถึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชน แห่งสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ เห็นได้ว่า สภาปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งมีหน้าที่รับผิดชอบ ในการจัดการ การพัฒนา และการใช้อย่างยั่งยืน ในการทำประมงชายฝั่งภายในน่านน้ำของตน และ ไม่เกิน 5 ไมล์ทะเล ตามมาตรา 302 (1-5) และมีหน้าที่จัดทำแผนการประมง เสนอให้กองประมง ชายฝั่งออกระเบียบเกี่ยวกับการทำประมงได้ในเขตน่านน้ำของตนตามมาตรา 303 ที่สำคัญ การใช้อำนาจของสภาปกครองท้องถิ่นเกี่ยวกับจัดการประมงที่เป็นอันตรายต่อทรัพยากรในทะเล จะต้องได้รับคำปรึกษากับผู้อำนวยการกองประมงชายฝั่งหน่วยงานภาครัฐก่อน หากไม่ปฏิบัติ การใช้อำนาจนั้นไม่มีผลตามกฎหมาย ทำให้ข้อบัญญัติหรือประกาศสภาปกครองท้องถิ่น ใช้อำนาจนั้น มีผลเป็นโมฆะตามมาตรา 304 (1-3) และให้อำนาจสภาปกครองท้องถิ่น จัดตั้งคณะกรรมการประมง ท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นตามความจำเป็นเพื่อช่วยดำเนินการเกี่ยวกับประมงพื้นบ้านตามมาตรา 305 รัฐบัญญัติฉบับนี้แสดงให้เห็นด้านการบูรณาการของหน่วยงานกรมประมง กับสภาปกครองท้องถิ่นในด้านการจัดการและพัฒนาประมงท้องถิ่นโดยมีการบูรณาการและ แบ่งอำนาจหน้าที่กันอย่างชัดเจน อีกทั้ง ยังให้อำนาจในการจัดตั้งคณะกรรมการประมงพื้นบ้านของ สภาปกครองท้องถิ่น หากเปรียบพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 เรื่องอำนาจในการจัดการ ทรัพยากรประมงเห็นว่า ตามมาตรา 25 ให้กรมประมงส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสนับสนุน ชุมชนประมงท้องถิ่นในการจัดการการบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์ อย่างยั่งยืน โดยมิได้มีการร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมิได้มีการให้อำนาจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการแต่งตั้งคณะกรรมการประมงพื้นบ้านเพื่อมาดูแลและจัดการ ประมงพื้นบ้าน แต่อย่างใด แม้ว่านายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้เข้ามาเป็นคณะกรรมการประมง ประจำจังหวัดด้วยก็ตามก็เป็นเพียงกฎหมายกำหนดให้ครบองค์ประกอบของคณะกรรมการเท่านั้น อำนาจในการจัดการประมงพื้นบ้านทางทะเล มีศูนย์รวมอำนาจอยู่ที่ส่วนกลาง มีเพียงด้านการส่งเสริม สนับสนุนชุมชนท้องถิ่นโดยมิได้ให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามีส่วนร่วมในการดูแล รวมถึงการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อดูแลในการจัดการผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ดังนั้น หากประเทศไทยนำแนวทางกฎหมายของสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ มาใช้เป็นในการจัดการ ประมงพื้นบ้านทางทะเล โดยให้หน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบูรณาการร่วมกัน ดูแลประมงพื้นบ้าน ย่อมส่งผลให้การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากองค์กรปกครองท้องถิ่นมีความใกล้ชิดกับชุมชนมากกว่าหน่วยงานในส่วนกลางและย่อมรู้ สภาพปัญหาในพื้นที่ได้ดีกว่า 2) กฎหมายสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ The Philippine fisheries code of 1998 (พ.ศ. 2541) (Republic act no . 8550) การทำประมงพื้นบ้านในเขตเทศบาลของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ นายกเทศมนตรี มีอำนาจอนุญาตให้ชาวประมงทำการประมงได้ภายในน่านน้ำ เมืองหรือเทศบาลมีอำนาจเหนือน่านน้ำ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3