การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

103 หน้าที่ในการจัดการ อนุรักษ์ พัฒนา และปกป้องทรัพยากรประมงหรือสัตว์น้ำภายในน่านน้ำเทศบาล ออกกฎหมายว่าด้วยการประมงของเทศบาล โดยปรึกษาหารือกับสภาการจัดการประมงและ ทรัพยากรน้ำ Fisheries and aquatic resources management councils (FARMC) บังคับใช้ กฎหมาย กฎ ระเบียบการประมง และข้อบัญญัติการประมงทั้งหมด กรณีมีความขัดแย้งเกิดจากการ ทับซ้อนกันของเขตน่านน้ำเทศบาลในการใช้ทรัพยากร รัฐบาลของเมืองหรือเทศบาลจัดให้มี การไกล่เกลี่ยจากกรมวิชาการเกษตร สำนักประมงและทรัพยากรน้ำ Department of agriculture- bureau of fisheries and aquatic resources (DA-BFAR) โดยปรึกษาหารือกับสภาการจัดการ ประมงและทรัพยากรน้ำระดับชาติ National FARMC ระดับท้องถิ่น Local FARMC และผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้ง ส่วนประมวลกฎหมายการประมงของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ค.ศ. 1998 (พ .ศ. 2541) The Philippine fisheries code of 1998 (พ .ศ. 2541) กำหนดด้านการจัดการ การอนุรักษ์ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เพื่อประโยชน์ต่อประชาชน และ กฎหมายว่าด้วยการประมงของเทศบาลจะร่วมกันปรึกษาหารือกับสภาการจัดการประมงและ ทรัพยากรน้ำ Fisheries and aquatic resources management councils (FARMC) บังคับใช้ กฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบัญญัติเกี่ยวกับการประมง เห็นได้ว่ากฎหมายดังกล่าวของสาธารณรัฐ ฟิลิปปินส์ให้อำนาจหน้าที่การจัดการประมงให้กับเทศบาลท้องถิ่นในการบริหารจัดการเกี่ยวกับประมง รวมถึงการอนุรักษ์พัฒนาด้านต่าง ๆ รวมถึงการไกล่เกลี่ยเมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้น แสดงให้เห็นว่า รัฐส่วนกลางได้มอบอำนาจหน้าที่ให้กับเทศบาลในการจัดการทรัพยากรประมงแยกออกจากกัน อย่างชัดเจนเหมือนกับสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ 4.2.2 กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลในประเทศไทย การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล มีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง การบริหารราชการจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น แต่ละหน่วยงานล้วนมีบทบาทอำนาจ หน้าที่แตกต่างกันในเรื่องการอนุรักษ์ คุ้มครอง บำรุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการ และใช้หรือจัดให้มี การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน จำเป็นต้องพิจารณา ถึงกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรและส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่น และบทบาท อำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานรัฐเกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล 1) การมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่นตามกฎหมาย ก า รมี ส่ วน ร่ วม ข อ งชุม ชน เกี่ ยวกับ จัดก าร ท รัพ ย าก ร ต าม รั ฐธ ร รม นูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ถือเป็น หัวใจสำคัญ ในระบอบประชาธิปไตยและรองรับสิทธิของบุคคลและชุมชนกับการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติตามมาตรา 43 ให้บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ จัดการ บำรุงรักษาและใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและ ยั่งยืน สิทธิของบุคคลหรือชุมชนสามารถเข้าร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือรัฐก็ได้ ซึ่งเป็นการ บัญญัติรองรับสิทธิของบุคคลและสิทธิของชุมชนในการอนุรักษ์ และกำหนดให้มีส่วนร่วมในการ บำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ และมาตรา 50 (8) ให้บุคคลมีหน้าที่ร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์ และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นหน้าที่ของรัฐมาตรา 57 (2) ที่ให้รัฐมีหน้าที่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3