การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
104 อนุรักษ์ คุ้มครอง บำรุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการ และใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและ ยั่งยืน โดยต้องให้ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินการและได้รับประโยชน์ จากการดำเนินการดังกล่าวด้วย การจัดสรรทรัพยากร มิใช่แต่เพียงเป็นบทบาทหน้าที่รัฐหรือชุมชน แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นคงเป็นหน้าที่ของหลายฝ่ายที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน เห็นได้ว่า รัฐหรือ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และบทบาทร่วมกันในการบริหารจัดการ และจัดให้ ใช้ประ โยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติให้ เกิดประ โยชน์ต่อประชาชนในท้องถิ่น และมาตรา 249 กำหนดให้การจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องเป็นไปตามหลักการปกครองตนเอง มีความโปร่งใส และที่สำคัญต้องเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่น สามารถปกครองตนเองได้ และเป็นการวางหลักว่าท้องถิ่นใดจะมีรูปแบบการปกครองใดให้คำนึงถึง เจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และที่สำคัญต้องดูพื้นที่รับผิดชอบเป็นปัจจัยสำคัญประกอบด้วย เมื่อนำกฎกติกา ที่ชุมชนท้องถิ่นร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อลดความขัดแย้งและลดการใช้เครื่องมือประมง ผิดกฎหมายระหว่างกัน ที่สำคัญก็เพื่อบริหารจัดการ และใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน เมื่อพิจารณาการส่วนร่วมของชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้มี ความยั่งยืนตามแผนนโยบายตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) พบว่าให้ความสำคัญ ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สร้างกลไกการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในท้องถิ่น การสร้าง เศรษฐกิจภาคทะเลที่ยั่งยืน เพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจฐานชีวภาพทางทะเล ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งทั้งหมด อย่างบูรณาการ ส่วนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ .ศ. 2560-2564) มุ่งเน้นการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รักษาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ปกป้อง ทรัพยากรทางทะเล การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การท่องเที่ยว การประมง และวิถีชีวิตของชุมชน สร้างสมดุลของการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากธรรมชาติโดยคำนึงถึงขีดจำกัดและศักยภาพ ในการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน ส่วนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562-2566) มุ่งไปสู่การบรรลุ เป้าหมายให้สังคมไทย “เป็นสังคมที่ส่งเสริมสิทธิ เสรีภาพ และความเท่าเทียม โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ ขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนอย่างบูรณาการทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม เพื่อนําไปสู่สังคมที่พัฒนาอย่างยั่งยืน” และให้ความสำคัญด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการพัฒนาที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และแผนสิทธิมนุษยชนด้านสิทธิชุมชน ให้ การส่ง เสริมบทบาทของ องค์กรปกครองท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่ในการมีส่วนร่วม รวมถึงส่งเสริมให้มีการจัดทำกลไก ไกล่เกลี่ยในระดับชุมชนเพื่อรองรับการเจรจาข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับนโยบายรัฐที่อาจส่งผลกระทบ ต่อชุมชน แสดงให้เห็นว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่นมีกฎหมายรองรับสิทธิของบุคคล หรือชุมชนไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) และ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3