การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
105 แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562-2566) ต่างก็ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม ของบุคคลหรือชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรในระดับท้องถิ่นเปิดช่องให้ร่วมกับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นได้ ดังนั้น เมื่อชุมชนท้องถิ่นร่วมกันสร้างกฎกติกาเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับ การทำประมงพื้นบ้าน ย่อมสามารถนำกฎกติกาที่ตกลงร่วมกันมาร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อบังคับใช้ในพื้นที่นั้นได้ 2) อำนาจหน้าที่หน่วยงานภาครัฐต่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วม (1) พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 กรมประมงเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่สำคัญต่อการจัดการ บำรุงรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟูและทรัพยากรสัตว์น้ำรวมถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำในเขตประมงน้ำจืด หรือเขตทะเลชายฝั่ง รวมถึงจัดระเบียบและป้องกันการทำประมงผิดกฎหมายตามพระราชกำหนด การประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 4 ที่ว่า ให้จัดระเบียบการประมงในประเทศไทยและในน่านน้ำทั่วไป เพื่อป้องกันมิให้มีการทำประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำให้อยู่ในภาวะ ที่เป็นแหล่งอาหารของมนุษยชาติอย่างยั่งยืน และรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมให้ดำรงอยู่ในสภาพ ที่เหมาะสมตามแนวทาง กฎเกณฑ์ และมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับนับถือในนานาประเทศ ขณะเดียวกันมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับและบริหารจัดการประมงมาตรา 12 ที่ว่า ให้กำหนดนโยบาย กำกับดูแลบริหารจัดการด้านประมง และการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำอยู่ในภาวะ ที่เหมาะสม และสามารถทำการประมงได้อย่างยั่งยืน ส่วนบทบาทหน้าที่สำคัญก็คือ การส่งเสริมและ สนับสนุนชุมชนประมงท้องถิ่นมาตรา 25 ที่ว่า ให้กรมประมงส่งเสริมหรือสนับสนุนการมีส่วนร่วม ของชุมชนประมงท้องถิ่น หรือสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม และจัดให้มีการขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชน ประมงท้องถิ่น ให้คำปรึกษาแก่ชุมชนประมงท้องถิ่น จากพระราชบัญญัติฉบับนี้ จากอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของกรมประมงหน่วยงานภาครัฐ เห็นได้ว่า มีหน้าที่ในการดูแลด้านนโยบายพัฒนาการประมงในน่านน้ำไทย ให้สอดคล้องกับปริมาณของ ทรัพยากรสัตว์น้ำ โดยคำนึงถึงความสามารถในการทำประมง และมีหน้าที่ให้การสนับสนุนชาวประมง มีการรวมกลุ่มกัน และจัดให้มีการขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ได้รับจัดสรร งบประมาณ ให้คำปรึกษาแก่ชุมชนประมงท้องถิ่น รวมทั้งช่วยเหลือ และสนับสนุนการดำเนินโครงการ หรือกิจกรรมของชุมชนท้องถิ่น และเผยแพร่ความรู้หรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการ การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำให้กับผู้ทำประมง ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านการประมงและการอนุรักษ์ ทรัพยากรสัตว์น้ำเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ปกป้อง คุ้มครอง และให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุน ประมงพื้นบ้าน ชุมชนประมงท้องถิ่น และคอยทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานในการป้องกัน การใช้ประโยชน์จากสัตว์น้ำ และยับยั้งขจัดการทำประมงที่ใช้เครื่องมือผิดกฎหมายเพื่อรักษาสัตว์น้ำ ในวัยอ่อนให้เจริญเติมโตเต็มวัย เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ ให้อยู่ในสภาวะเหมาะสม ประกอบกับได้มีการใช้โทษปรับทางอาญา ในการป้องกัน ระงับ ยับยั้ง การกระทำความผิด เนื่องจากเป็นความผิดร้ายแรงที่มีผลกระทำต่อความมั่นคงทางทรัพยากรสัตว์น้ำ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3