การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

106 การทำประมงพื้นบ้านใน เขตทะเลชายฝั่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 5 “ประมงพื้นบ้าน หมายความว่า การทำประมงในเขตทะเลชายฝั่งไม่ว่าจะ เรือประมงหรือใช้เครื่องมือโดยไม่ใช้เรือประมง ทั้งนี้ ที่มิใช้ประมงพาณิชย์” เป็นการนิยามความหมาย ที่ว่าให้ผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านสามารถทำประมงในเขตทะเลชายฝั่งได้ นับจากแนวชายฝั่ง ทะเลออกไปสามไมล์ทะเลเท่านั้น ส่วนการทำประมงจะใช้เรือประมง หรือใช้เครื่องมือโดยไม่ใช้ เรือประมงก็ได้ แต่ต้องมิใช่เป็นการทำประมงแบบพาณิชย์ นอกจากนี้จะทำประมงออกไปไกลกว่า สามไมล์ทะเลได้ จะต้องมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ และ การออกไปทำประมงไกลกว่าสามไมล์ทะเล ต้องออกเป็นกฎกระทรวง แต่การออกไปนั้นต้องไม่น้อย กว่าหนึ่งจุดห้าไมล์ทะเล และไม่เกินสิบสองไมล์ทะเล จากข้อกำหนดของกฎหมายเกี่ยวกับ การทำประมงพื้นบ้าน เห็นได้ว่า ไม่ตรงกับวิถีลักษณะทำประมงพื้นบ้าน เพราะประมงพื้นบ้าน หลายจังหวัดทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง การที่รัฐกำหนดพื้นที่ทำประมง ส่งผลให้ ชาวประมงพื้นบ้านถูกจำกัดสิทธิและไม่ได้รับความเป็นธรรมในการป ระกอบอาชีพ อีกทั้ง กฎหมายกำหนดพื้นที่ทำประมงมาตรา 34 ที่ว่า “ห้ามผู้ที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ...” ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านที่ได้รับใบอนุญาตทำประมง ไม่สามารถออกไปทำประมงนอกเขตทะเล ชายฝั่งได้ หากไปทำประมงนอกเขตทะเลชายฝั่งต้องได้รับการอนุญาตก่อน แสดงให้เห็นว่าการกำหนด พื้นที่ทำการประมงเช่นนี้ขัดกับวิถีทำประมงของชาวประมงพื้นบ้าน ผลจากการสัมภาษณ์นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นว่า ทางสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ได้มีการยื่นข้อเสนอเกี่ยวกับ การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมให้กับผู้ทำประมงพื้นบ้าน เห็นควรที่จะปรับปรุง แก้ไขพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 5 คำนิยามใหม่เป็น “...ประมงพื้นบ้าน หมายความว่า การทำประมงในเขตทะเลไม่ว่าจะใช้เรือประมงหรือใช้เครื่องมือโดยไม่ใช้เรือประมง โดยผู้ทำการประมงต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย และในกรณีที่ใช้เรือประมง เจ้าของ เรือหรือ คนในครอบครัวต้องเป็นผู้ลงเรือออกไปทำการประมงด้วยตนเอง และมีการใช้แรงงานอีกไม่เกินสี่คน ทั้งนี้ ที่มิใช่เรือประมงพาณิชย์...” เหตุผลที่ให้เป็นคนในครอบครัวลงเรือไปทำประมงด้วยตนเองก็เพื่อ ป้องกันไม่ให้มีการสวมสิทธิ์ของนักลงทุนที่ใช้ช่องว่างของกฎหมายอ้างความเป็นเจ้าของเรือประมง ขนาดเล็กและจ้างบุคคลอื่นเพื่อออกไปทำการประมงแทน และด้วยเหตุที่ขนาดของเรือประมงพื้นบ้าน มีขนาดเล็กไม่เกินสิบตันกรอสจำเป็นต้องจำกัดจำนวนแรงงาน เพราะหากมีแรงงานจำนวนมาก จะมีลักษณะเป็นการทำแบบประมงพาณิชย์ และให้ยกเลิกมาตรา 34 เสีย เพื่อมิให้เป็นการขัดต่อ คำนิยามมาตรา 5 ที่กำหนดขึ้นใหม่นี้ นอกจากนี้ การจัดตั้งคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด เพื่อให้เกิดการ บูรณการทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมกันบริหารจัดการด้านการประมงพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 26 ที่ว่า ให้มีคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการ จังหวัด เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนกรมเจ้าท่า อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด พาณิชย์จังหวัด นายอำเภอในเขตท้องที่ ที่มีการประมง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประธานสภาเกษตรกรจังหวัด เป็นกรรมการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3