การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
107 โดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจำนวนไม่เกินสิบสามคน เป็นกรรมการ ให้ประมงจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ ในจังหวัดใดมีอาณาเขตติดต่อกับชายฝั่งทะเลหรือ แม่น้ำโขง ให้มีผู้แทนกองทัพเรือเป็นกรรมการโดยตำแหน่งเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน สำหรับกรรมการในชุดนี้ ได้แต่งตั้ง ผู้แทนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นในด้านการประมงทะเลชายฝั่ง ด้านการประมงทะเล นอกชายฝั่ง ด้านการประมงน้ำจืด ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือด้านการแปรรูปสัตว์น้ำ ที่ได้ ขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นกับกรมประมงตามมาตรา 25 (2) โดยคำนึงถึงความทั่วถึง ของผู้มีส่วนได้เสีย หรือ เป็นผู้มีความรู้หรือประสบการณ์ดำเนินงานด้านการประมง หรือ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่เกินสามคน นอกจากนี้แล้ว คณะกรรมการประมงประจ ำจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ ตามมาตรา 28 รวบรวมข้อเสนอแนะและเสนอแนวทางในการส่งเสริมอาชีพการประมง การจัดการ การบำรุงรักษา การอนุรักษ์การฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำขององค์กรชุมชน ประมงท้องถิ่น ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบเสนอต่อคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาจัดทำนโยบาย มาตรา 19 (1) ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรสัตว์น้ำ การห้ามจับสัตว์น้ำในเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ มาตรา 71 การกำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง พื้นที่ทำการประมง ขนาดของเรือประมงที่ใช้ทำการประมง และเงื่อนไขอื่นที่ห้ามใช้ทำประมงในพื้นที่จับสัตว์น้ำ แสดงเห็นได้ว่า บทบาทอำนาจหน้าที่ของกรมประมง เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการทรัพยากร ประมงพื้นบ้านทางทะเล ด้วยเหตุนี้ กรมประมงควรสร้างรูปแบบบูรณาการเพื่อให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องทุกภาคมีส่วนร่วมกัน ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ ชุมชนท้องถิ่นที่พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 มาตรา 21 (2) ให้ส่งเสริมสนับสนุน องค์กรชุมชนร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานของรัฐในการจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและประเทศชาติ ดังนั้น กรมประมงควรมีหน้าที่บูรณาการหน่วยงานต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ของประชาชนและดูแล ผลประ โยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติ มีข้อสัง เกตว่า นายก อ งค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นคณะกรรมการร่วมอยู่ด้วย แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลับไม่มีบทบาทอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ การทำประมงในพื้นที่เลยทั้งที่พระราชกำหนดประมง พ.ศ. 2558 ได้เปิดช่องให้สามารถบูรณาการ ร่วมกันเพื่อช่วยกันส่งเสริมกิจกรรมประมงพื้นบ้านในเขตพื้นที่ได้ (2) พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 อำนาจหน้าที่ของรัฐที่มีต่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของกรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง มาตรา 12 ให้จัดตั้งคณะกรรมการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัด ในจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูก บำรุงรักษา อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยแบ่งเป็น พื้นที่ภูมิภาคกับส่วนกลางกรุงเทพมหานคร สำหรับพื้นที่ส่วนภูมิภาคติดชายฝั่งทะเลจำนวน 22 จังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่า ภูมิภาคสาขาจังหวัด ผู้แทนกรมป่าไม้ ผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้อำนวยการ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ประมงจังหวัด โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ผู้แทนกองทัพเรือ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นกรรมการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3