การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
110 เป็นกรรมการ และมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแต่งตั้งจากผู้แทนภาคเอกชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง เห็นได้ว่า ไม่มีหน่วยงานส่วนภูมิภาคเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการร่วมอยู่ด้วยเลย หากเปรียบเทียบกับกรมประมง ตามพระราชกำหนดประมง พ.ศ. 2558 และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 พบว่ากฎหมายทั้งสองฉบับนี้ เปิ ดช่อ ง ให้มี ก ารบู รณ าก ารท ำ ง าน ร่วม กั น ขอ งคณ ะก รรม ก าร เพื่อ ก ารบ ริห า รจัดก า ร ทรัพยากรธรรมชาติ ขณะที่พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ไม่เปิดช่องให้มีการบูรณาการ จากส่วนภูมิภาคแต่อย่างใด (4) พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2558 ข้อ 2 ให้กรมเจ้าท่า มีภารกิจเกี่ยวกับการกำกับดูแล การส่งเสริม การพัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำ และการพาณิชยนาวี ให้มีการเชื่อมต่อกับระบบการขนส่งอื่น ๆ มีอ ำนาจหน้าที่ ดำเนินการ ตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย กฎหมายว่าด้วยเรือไทย กฎหมายว่าด้วยการป้องกัน เรือโดนกัน กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพาณิชยนาวี กฎหมายว่าด้วยการขนส่งต่อเนื่อง หลายรูปแบบ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมเจ้าท่า กระทรวง คมนาคม พ.ศ. 2558, 2558) อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกรมเจ้าท่า กรมเจ้าท่ามีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดเขตควบคุมการเดินเรือ และกำหนด เขตห้ามจอดเรือหรือแพ รวมทั้งให้อำนาจในการปักหลักเขตทางน้ำให้ชัดเจน ทั้งนี้เพื่อมิให้ ผู้ประกอบการและประชาชนบุกรุกแม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบ ทะเลภายใน และทะเลอาณาเขต อันอาจเป็นเหตุให้เกิดอันตรายทางน้ำ หรือทำให้ทางน้ำได้รับความเสียหายจนไม่สามารถสัญจรไปมา ได้ตามปกติ อันส่งกระทบต่อการเดินเรือตามมาตรา 117 ที่ว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดปลูกสร้างอาคารหรือ สิ่งอื่นใดล่วงล้ำเข้าไปเหนือน้ำ ในน้ำ และใต้น้ำ ของแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ อันเป็น ทางสัญจรของประชาชนหรือที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน หรือทะเลภายในน่านน้ำไทยหรือ บนชายหาดของทะเลดังกล่าว เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าท่า” แม้มีกฎหมายกำหนดความผิดการบุกรุกพื้นที่สาธารณประโยชน์ทางทะเล ไว้ชัดเจน แต่การวาง “ซั้ง” เป็นเครื่องมือดึงดูดสัตว์น้ำให้มาอาศัยอยู่รวมกัน จำนวนมาก เพื่อความสะดวกต่อการทำการประมงของชาวประมงพื้นบ้านชายฝั่ง โดยสร้างขึ้นด้วยวัสดุธรรมชาติ ที่สามารถย่อยสลายในน้ำได้ และชาวประมงพื้นบ้านได้วางซั้งไว้ที่แม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ ดังนั้น “ซั้ง” เป็นการปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำหรือไม่ จากบันทึกของคณะกรรมการ กฤษฎีกา (คณะที่ 7) เรื่องเสร็จที่ 180/2550 (สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (ออนไลน์), 2560) ได้อธิบายมาตรา 117 เกี่ยวกับการปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติการเดินเรือ ในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 คำว่า “ปลูกสร้าง” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน หมายถึง เอาสิ่งต่าง ๆ มาปรุงกันเข้าเพื่อทำเป็นที่อยู่อาศัย หรือที่พักอาศัยโดยวิธีฝังเสาลงในดิน ดังนั้น คำว่า ปลูกสร้าง จึงต้องมีโครงสร้างส่วนหนึ่งส่วนยึดติดกับพื้นดินไม่ว่าจะเป็นพื้นดินใต้น้ำ หรือ พื้นดินที่ติดต่อกับลำแม่น้ำ เพื่อมิให้มีการเคลื่อนที่ไปมา เมื่อลักษณะของซั้งไม่ได้มีโครงสร้างส่วนหนึ่ง ส่วนใดยึดติดกับพื้นดิน หรือฝังลงในดิน เพื่อมิให้เคลื่อนที่ไปมาแม้ว่าการวางซั้งจะมีเคลื่อนถ่วงน้ำหนัก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3