การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
111 ซึ่งเป็นลูกปูนถ่วงอยู่ แต่ก็มิได้ยึดติดกับพื้นดินใต้ทะเลแต่อย่างใด ยังสามารถเคลื่อนที่ไปมา ตามกระแสน้ำได้และไม่มีลักษณะเป็นการถาวรเนื่องจากมีระยะการใช้งานเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง เท่านั้น ดังนั้น การวางซั้งจึงไม่เป็นการปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำน้ำตามมาตรา 117 นอกจากนี้ พระราชกำหนดการประมง พ .ศ. 2558 มาตรา 5 คำว่า “ทำการประมง” หมายความว่า ค้นหา ล่อ จับ ได้มา หรือเก็บสัตว์น้ำ หรือการกระทำใด ๆ ที่มี จุดมุ่งหมายเพื่อล่อ จับ ได้มา หรือเก็บสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ และคำว่า “เครื่องมือทำการประมง” หมายความว่า กลไก เครื่องใช้ เครื่องอุปกรณ์ ส่วนประกอบ อาวุธ เสา และหลักที่ใช้ทำการประมง เมื่อปรากฏว่าลักษณะของซั้งทำจากไม้ไผ่รวบปลายด้านหนึ่งมัดรวมกัน และปลายอีกด้านหนึ่งชี้ขึ้น สู่ผิวน้ำทะเล พ้นน้ำประมาณ 1-2 เมตรภายใตใช้ทางมะพร้าวเพื่อล่อให้ปลาเข้ามาอาศัยอยู่ ดังนั้น ซั้ง จึงเป็นเครื่องมือทำการประมงประเภทหนึ่งตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ซึ่งกรมประมงมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการให้มีการปฏิบัติตามพระราชกำหนดดังกล่าว ดังนั้น คำว่า “ซั้ง” คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่า เป็นเพียงเครื่องมือทำการประมง ประเภทหนึ่งเท่านั้น เพื่อใช้ล่อให้ปลาเข้ามาอยู่อาศัยจึงไม่มีลักษณะการปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดที่ล่วงล้ำเข้าไป เหนือน้ำ ในน้ำ และใต้น้ำ ของแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ อันเป็นทางสัญจร ของประชาชนหรือที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน หรือทะเลภายในน่านน้ำไทยหรือบนชายหาด ของทะเล ตามความหมายของมาตรา 117 วรรคหนึ่ง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจาก กรมเจ้าท่า และไม่ต้องเสียค่าตอบแทน เป็นรายปีตามวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ตามมาตรา 117 ทวิ ประกอบกับกฎกระทรวงกำหนดค่าตอบแทนรายปีสำหรับผู้รับอนุญาตปลูกสร้าง อาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำแม่น้ำ พ.ศ. 2563 ตามข้อ 2 และข้อ 3 ดังนั้น การวางซั้ง เสมือนหนึ่ง เป็นปะการังเทียมที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวประมงพื้นบ้าน อาจเรียกว่าเป็นนวัตกรรม ด้านการอนุรักษ์ สำหรับให้สัตว์น้ำอยู่อาศัย วางไข่ และเป็นที่หลบภัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน การวางซั้ง จึงเป็นการจัดการทำประมงพื้นทางทะเลอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านและทำได้ หลายรูปแบบ เช่น ซั้งกอ ซั้งเชือก โดยมากจะวางไว้ใน เขตทะเลบริเวณหน้าชุมชนของตนเอง การวางซั้งจึงมีประโยชน์ต่อชาวประมงพื้นบ้านอย่างมากเพราะช่วยดึงดูดสัตว์น้ำให้เข้ามาอาศัย เมื่อสัตว์น้ำเพิ่มปริมาณมากขึ้นเนื่องจากเป็นแหล่งเพาะพันธ์สัตว์น้ำวัยอ่อน เมื่อสัตว์น้ำเจริญเติมโต เต็มวัยส่งผลให้ชาวประมงพื้นบ้านมีรายได้มากขึ้นอีกทั้งยังเป็นการลดรายจ่ายค่าน้ำมัน ชาวประมงพื้นบ้านไม่ต้องออกไปทำการประมงที่ห่างไกลจากชุมชน (5) พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 รูปแบบการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนเพื่อให้มีอำนาจหน้าที่และภารกิจปฏิบัติ หน้าที่สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 เห็นว่า ชุมชนเป็นสังคมฐานรากมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีวิถีชีวิต วัฒนธรรมแตกต่างหลากหลาย ตามภูมินิเวศ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองส่งผลให้ชุมชนอ่อนแอ เกิดปัญหา สังคมมากขึ้น ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชนถูกทำลาย ทำอย่างไรที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับ ชุมชนท้องถิ่น ทั้งนี้ความหมายของชุมชนตามมาตรา 3 ก็ คือ กลุ่มประชาชนที่รวมตัวกัน โดยมีผลประโยชน์และวัตถุประสงค์ร่วมกัน เพื่อช่วยเหลือหรือสนับสนุนกัน ทำกิจกรรมอันชอบ ด้วยกฎหมาย มีระบบบริหารจัดการและการแสดงเจตนาแทนกลุ่มได้ และคำว่า “ชุมชนท้องถิ่น” คือ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3