การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
112 ชุมชนที่อยู่ร่วมกัน ในพื้นที่หมู่บ้านหรือตำบล เมื่อกลุ่มประ ชาชนรวมตัวกันจึงกลายเป็น “องค์กรชุมชน” หมายความว่า องค์กรซึ่งเป็นการรวมกันของชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่น ดั้งเดิมซึ่งจดแจ้งการจัดตั้งเป็นสภาองค์กรชุมชนตำบล ไม่ว่าประชาชนจะจัดตั้งกันขึ้นเองหรือ โดยการแนะนำ หรือสนับสนุนของหน่วยงานของรัฐ เอกชน หรือองค์กรพัฒนาเอกชน ส่วนคำว่า “ตำบล” หมายความถึงเขตพื้นที่ในความรับผิดชอบของเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือ เขตพื้นที่ที่กฎหมายเรียกชื่อเป็นอย่างอื่น สำหรับการจดแจ้งเพื่อจัดตั้งเป็นสภาองค์กรชุมชนตำบลและผู้เข้าเป็นตัวแทน ชุมชนมาตรา 5 แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรก ผู้เข้ามาเป็นตัวแทนในสภาองค์กรชุมชนตำบล ประกอบด้วย ผู้แทนชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในแต่ละหมู่บ้านโดยคัดผู้แทนจาก หมู่บ้านละ 4 คน หลังจากนั้นต้องไปจดแจ้งการจัดตั้งไว้กับผู้ใหญ่บ้าน ประเภทที่สอง ผู้แทน องค์กรชุมชนอื่นในตำบล โดยคัดผู้แทนมาจากตำบลละ 2 คนและต้องไปจดแจ้งกับกำนั้น ซึ่งการจดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลทั้งสองประเภทนี้ เพื่อปฏิบัติภารกิจหน้าที่และสร้างความเข้มแข็ง ให้กับชุมชนท้องถิ่น สำหรับตำบลหรือหมู่บ้านใดไม่มีกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน ให้จดแจ้งการจัดตั้ง ชุมชนหรือจดแจ้งการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล แล้วแต่กรณี กับผู้บริหารองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และให้ออกใบรับรองจดแจ้งไว้เป็นหลักฐาน และแจ้งให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ทราบ ภารกิจหน้าที่ของสภาองค์กรชุมชนเกี่ยวข้องกับการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่สำคัญหลายด้านไว้มาตรา 21 (1)... (2) “ให้ส่งเสริมและสนับสนุนสมาชิก องค์กรชุมชนร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานของรัฐในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและ ประเทศชาติอย่างยั่งยืน”... (4) “เสนอปัญหาและแนวทางแก้ไข และการพัฒนาต่อองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในการจัดทำแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” และ (5) “เสนอแนะปัญหาและแนวทางแก้ไขหรือความต้องการของประชาชนอันเกี่ยวกับ การจัดบริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”... (7) “ส่งเสริม และสนับสนุนให้องค์กรชุมขนในตำบลเกิดความเข้มแข็ง และสมาชิกองค์กรชุมชน รวมตลอดทั้ง ประชาชนทั่วไปในตำบลสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน”... (9) “รายงานปัญหาและผลที่เกิดขึ้น ในตำบลอันเนื่องมาจากการดำเนินงานใด ๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐ โดยรายงานต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง” ประกอบกับมาตรา 22 “กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานของรัฐ มีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน และ ให้ความร่วมมือรวมตลอดทั้งชี้แจงทำความเข้าใจให้กับสภาองค์กรชุมขนตำบล และชุมชนทุกประเภท ตามที่ร้องขอ” วรรคสอง กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สภาองค์กรชุมชนตำบลอยู่ในเขต ให้การอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของสภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นเงินอุดหนุนทั่วไปตามที่ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด แสดงให้เห็นว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้ สภาองค์กรชุมชนตำบลเข้าร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐโดยบูรณาการ ร่วมกันแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการทำประมงพื้นบ้าน เพื่อร่วมกันจัดการ บำรุง รักษาและใช้ประโยชน์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3