การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

116 อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการออกเทศบัญญัติ/ข้อบัญญัติเกี่ยวกับ การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล การปกครองท้องถิ่นเป็นพื้นฐานสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย การกระจาย อำนาจให้แก่องค์กรปครองส่วนท้องถิ่น คือ การที่รัฐให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอำนาจ ในการจัดทำบริการสาธารณะแทนรัฐ ในเรื่องที่รัฐเห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถ ดำเนินการแทนรัฐได้ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจาก การเลือกตั้งของประชาชนซึ่งสอดคล้องกับหลักการของระบอบประชาธิปไตย ทำให้ประชาชน ในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นผ่านผู้แทนของตน ซึ่งผู้แทนเหล่านี้จะใกล้ชิดกับประชาชน มากกว่าผู้แทนระดับประเทศ และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ได้รวดเร็วและตรงกับความต้องการของประชาชนมากกว่า เห็น ได้ว่าการให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอำนาจจึงเป็นกลไกที่สำคัญทำให้การจัดทำบริการสาธารณะในท้องถิ่น มีประสิทธิภาพ สำหรับหน้าที่และอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บางส่วนได้บัญญัติ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและบางส่วนได้บัญญัติไว้ในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ ดังนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 250 ไม่ได้ระบุหน้าที่และ อำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้โดยตรง แต่ระบุไว้เป็นเพียงหลักการทั่วไปเกี่ยวกับ หลักความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดขอบเขตและบทบาทการดำเนินการ “จัดทำบริการสาธารณะ” ที่มีความหมายครอบคลุมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมควบคู่ กับการจัด “กิจกรรมสาธารณะ”เพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมสาธารณะต่าง ๆ ที่ประชาชน ในท้องถิ่นได้รับประโยชน์ร่วมกัน ส่วนวรรคสองมุ่งหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น ผู้รับผิดชอบหลักในการจัดทำบริการสาธารณะประเภททั่วไป โดยให้มีภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการจัดก็ได้ และยังได้กำหนดขั้นตอนในการกระจายอำนาจของส่วนราชการ งบประมาณและ บุคลากรที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจ ซึ่งการกระจายอำนาจต้องคำนึงถึงรูปแบบและความสามารถ ที่แตกต่างกันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย เป็นไปตามแนวคิดการกระจายอำนาจที่เปิดโอกาส ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการตนเอง โดยการกำกับดูแลกระทำได้ เพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือประโยชน์ของประเทศ เป็นส่วนรวม อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าไปมีส่วนร่วม โดยมีสิทธิเข้าชื่อกันเพื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ตอบสนองต่อปัญหาและ ความต้องการของประชาชนได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติตรงกับ แนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยท้องถิ่น ส่วนกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดหน้าที่และ อำนาจในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง มีกฎหมาย เข้ามาเกี่ยวข้องจำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 และพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 หากพิจารณากฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3