การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
117 แต่ละฉบับ เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในการร่างข้อบัญญัติและเทศบัญญัติ รวมถึงการดูแล บำรุง รักษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถอธิบายได้ ดังนี้ 1) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกคร อง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กฎหมายที่มีความสำคัญในการกำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปรากฎในพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น มาตรา 16 (24) “ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและ หน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ในการ จัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” และมาตรา 17 (5) “ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของ ประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ในการคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม” 2) พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ ในการตราข้อบัญญัติกำหนดไว้มาตรา 45 (1) “ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ ดำเนินการภายในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด การตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย” และข้อบัญญัติจะตราขึ้นได้เป็นไปตามมาตรา 51 (1) ที่ว่า “เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ” (2) “เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราข้อบัญญัติ หรือให้มีอำนาจตราข้อบัญญัติ” วรรคสอง “ในข้อบัญญัติ จะกำหนดโทษผู้ละเมิดข้อบัญญัติไว้ด้วยก็ได้ แต่ห้ามมิให้กำหนดโทษจำคุกเกินหกเดือน และปรับเกิน หนึ่งหมื่นบาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น” สำหรับบุคคลผู้มีสิทธิเสนอร่างข้อบัญญัติตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มาตรา 52 ที่ว่า “ร่างข้อบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามกฎหมายเกี่ยวกับการเข้าชื่อในสภาท้องถิ่นพิจารณาออก ข้อบัญญัติท้องถิ่น” วรรคสอง “การเสนอร่างข้อบัญญัติเกี่ยวกับการเงินจะต้องมีคำรับรองของ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด” เห็นได้ว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้อำนาจและหน้าที่ในการร่าง ข้อบัญญัติได้โดยให้สิทธิกับนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น ๆ นอกจากนี้ ให้มีอำนาจหน้าที่ ในการดูแลเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 45 (7) ที่ว่า “ให้องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการภายในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในการคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” ดังนั้น การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้าน ทางทะเลย่อมอยู่ในอำนาจหน้าที่การดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดด้วย 3) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 การตราเทศบัญญัติของเทศบาลกำหนดอำนาจหน้าที่ในการตราเทศบัญญัติได้ โดยไม่ขัด หรือแย้งต่อบทกฎหมายไว้ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3