การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ในปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชายฝั่งทะเลเพิ่มมากขึ้น ทำให้วิถีชีวิตของ ชาวประมงพื้นบ้านเปลี่ยนแปลงไปจากการจับสัตว์น้ำเพื่อเลี้ยงครอบครัวและขายเพื่อเลี้ยงชีพ กลายเป็นมุ่งแข่งขันกันจับสัตว์น้ำเพื่อการค้า ทำให้เกิดปัญหาการจัดการพื้นที่สาธารณประโยชน์ ทางทะเล ซึ่งมีการบุกรุก รวมถึงการซื้อขายพื้นที่สาธารณประโยชน์ทางทะเลเพื่อเก็บเกี่ยว ผลประโยชน์จากสัตว์น้ำด้วยการปลูกสร้างหรือล้อมคอกเป็นบริเวณเขตพื้นที่ โดยอ้างว่าได้ซื้อขายสิทธิ ต่อมาจากชาวบ้าน อีกทั้งมีกลุ่มนายทุนทั้งในและนอกพื้นที่เข้ามาจับจองซื้อขายพื้นที่สาธารณะของรัฐ ที่ให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันในการจับสัตว์น้ำจากทรัพยากรทางทะเล เกิดประเด็นข้อพิพาท กลายเป็นความขัดแย้งในหลายจังหวัดชายฝั่งทะเล เช่น ในกรณีเมื่อปี พ.ศ. 2563 ประเด็นข้อพิพาท ระหว่างกลุ่มประมงพื้นบ้านกับนายทุนผู้ประกอบการ เลี้ยงหอยแครงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เข้าจับจองพื้นที่สาธารณะทางทะเลสร้างขนำ คอกเลี้ยงหอยแครง เป็นเหตุให้ชาวบ้านไม่สามารถเข้าไปจับสัตว์น้ำในบริเวณดังกล่าวได้ จึงประท้วงโดยการนำเรือประมง หลายสิบลำมารวมตัวกันปิดกั้น เพื่อกดดันหน่ วย งานภาครัฐให้ เร่งจัดก ารทวงคืนพื้นที่ สาธารณประโยชน์ให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างเป็นเท่าเทียม เป็นธรรมและ เสมอภาคกัน (สยามรัฐ (ออนไลน์ ), 2563) ซึ่งในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2535 มาตรา 117 กำหนดไว้ชัดเจนว่า ห้ามมิให้ผู้ใดปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำเข้าไปเหนือน้ำ ในน้ำ และใต้น้ำ ของแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ อันเป็นทางสัญจรของประชาชนหรือที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน หรือ ทะเลภายในน่านน้ำไทยหรือบนชายหาดของทะเลดังกล่าว เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าท่า แม้จะมี กฎหมายกำหนดความผิดการบุกรุกพื้นที่สาธารณประโยชน์ทางทะเลไว้ชัดเจน แต่ยังคงมีการฝ่าฝืน กฎหมาย จึงอาจสะท้อนให้ถึงประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหา ดังกล่าวได้ จากสถิติปริมาณการจับสัตว์น้ำจากการทำประมงพื้นบ้านในประเทศไทย ปี 2564 มีปริมาณ การจับรวมทั้งสิ้น 270,457.77 ตัน โดยเป็นสัตว์น้ำที่จับได้บริเวณฝั่งอ่าวไทย จำนวน 166,666.93 ตัน และฝั่งอันดามัน จำนวน 103,790.84 ตัน ซึ่งสัตว์น้ำในกลุ่มปลา มีปริมาณการจับมากที่สุด จำนวน 129,999.93 ตัน รองลงมาคือ สัตว์น้ำในกลุ่มปู มีปริมาณการจับเท่ากับ 38,721.28 ตัน สัตว์น้ำในกลุ่มกุ้ง จับได้จำนวน 38,338.79 ตัน สัตว์น้ำอื่น ๆ จับได้จำนวน 33,767.24 ตัน กลุ่มหมึก จับได้จำนวน 24,491.35 ตัน และกลุ่มหอย จับได้จำนวน 5,139.06 ตัน (กองนโยบายและแผนพัฒนา การประมง กลุ่มสถิติการประมง, 2565) การทำประมงพื้นบ้านส่วนใหญ่ใช้เรือที่มีขนาดน้อยกว่า สิบตันกรอส ในปี 2562 กรมประมงได้ออกประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขอและการออกหนังสือรับรองเพื่อประกอบการยื่นขอจดทะเบียนเรือไทย สำหรับเรือประมง พื้นบ้าน พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นการบริหารจัดการกองเรือขนาดเล็กที่เป็นชาวประมงส่วนใหญ่ของประเทศ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3