การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

118 พ.ศ. 2510 มาตรา 60 (2) “เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้เทศบาลตราเทศบัญญัติหรือให้มีอำนาจ ตราเทศบัญญัติ” วรรคสอง “ในเทศบัญญัติจะกำหนดโทษปรับผู้ละเมิดเทศบัญญัติไว้ด้วยก็ได้ แต่ห้ามมิให้กำหนดเกินกว่าหนึ่งพันบาท” สำหรับร่างเทศบัญญัติบุคคลที่มีสิทธิเสนอได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2543 มาตรา 61 ทวิ “ร่างเทศบัญญัติจะเสนอได้ ก็แต่โดย (1) นายกเทศมนตรี (2) สมาชิกสภาเทศบาล หรือ (3) ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาล ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น ในกรณีที่สมาชิกสภาเทศบาลเป็นผู้เสนอ ร่างเทศบัญญัติต้องมีสมาชิกสภาเทศบาลลงนามรับรองไม่น้อยกว่าสองคน” เมื่อพิจารณา พระราชบัญญัติฉบับนี้ พบว่า มิได้กำหนดอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับดูแล บำรุง รักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมไว้ก็ตาม แต่ก็ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจาย อำน าจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ .ศ. 2542 มาตรา 16 ที่ว่า “ ให้เทศบาล และ องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ ของประชาชนในท้องถิ่นตนเอง... (24) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” ดังนั้น หากมีการร่างเทศบัญญัติเกี่ยวกับการดูแล บำรุง รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่รวมถึงการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านด้วย ย่อมต้องนำพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ตามมาตรา 16 นำมาบังคับใช้ด้วย การกำหนดโทษทางอาญาสำหรับผู้กระทำความผิดจะต้องยึดหลักเกณฑ์ที่มีผลกระทบ ต่อส่วนรวมเป็นวงกว้างหรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (คำแนะนำของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่อง การกำหนดโทษอาญาในกฎหมาย, 2562) การกำหนดโทษจำคุกและปรับก็เพื่อให้ผู้ที่จะกระทำ เกรงกลัวกฎหมายอันเป็นการป้องกันมิให้มีการกระทำความผิด ซึ่งอัตราโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนข้อบัญญัติ ท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งสามารถนำข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบฉบับนี้ ไปใช้ เป็นแนวทางในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น โดยสามารถปรับใช้ให้เหมาะสมตามสภาพพื้นที่ของตนเอง เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีบริบทแตกต่างกัน จึงได้เสนอแนะควรปรับแก้ไขอัตราโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 60 วรรคสอง จากเดิม “ในเทศบัญญัตินั้น จะกำหนดโทษปรับผู้ละเมิดเทศบัญญัติไว้ด้วยก็ได้ แต่ห้ามมิให้กำหนดเกินกว่าหนึ่งพันบาท” แก้ไขเพิ่มเติมเป็น “ในข้อบัญญัติตามวรรคหนึ่ง จะกำหนดโทษจำคุกหรือโทษปรับหรือทั้งจำและปรับ ผู้ละเมิดเทศบัญญัติไว้ด้วยก็ได้ แต่ห้ามมิให้กำหนดโทษจำคุกเกินหกเดือน และหรือปรับเกิน หนึ่งหมื่นบาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น” 4) พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 สำหรับอำนาจหน้าที่ในการออกข้อบัญญัติเป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 มาตรา 71 ที่ว่า “องค์การบริหารส่วนตำบล สามารถออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อใช้บังคับในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ ขององค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้องค์การบริหารส่วนตำบลออกข้อบัญญัติ หรือให้มีอำนาจออกข้อบัญญัติ ในการนี้จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกำหนดโทษปรับ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3