การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
119 ผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้ แต่มิให้กำหนดโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น” วรรคสอง “การเสนอร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หรือราษฎรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตามกฎหมายว่า ด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น” ส่วนอำนาจหน้าที่ในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 67 (7) “ให้องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ในการเขตองค์การบริหารส่วนตำบล” แสดงให้เห็นว่าการจัดการเกี่ยวกับทรัพยากร ประมงพื้นบ้านทางทะเลย่อมอยู่ในอำนาจหน้าที่การดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลด้วย การกำหนดโทษทางอาญาสำหรับผู้กระทำความผิดจะต้องยึดหลักเกณฑ์ที่มีผลกระทบต่อ ส่วนรวมเป็นวงกว้างหรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (คำแนะนำของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่อง การกำหนดโทษอาญาในกฎหมาย, 2562) การกำหนดโทษจำคุกและปรับก็เพื่อให้ผู้ที่จะกระทำ เกรงกลัวกฎหมายอันเป็นการป้องกันมิให้มีการกระทำความผิด ซึ่งอัตราโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน ข้อบัญญัติท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งสามารถนำข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบฉบับนี้ ไปใช้เป็นแนวทางในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น โดยสามารถปรับใช้ให้เหมาะสมตามสภาพพื้นที่ ของตนเอง เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีบริบทแตกต่างกัน จึงได้เสนอแนะควรปรับแก้ไขอัตราโทษสำหรับ ผู้ฝ่าฝืนตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 71 วรรคหนึ่ง จากเดิม “องค์การบริหารส่วนตำบลอาจออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อใช้ บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตาม อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้องค์การบริหารส่วนตำบล ออกข้อบัญญัติหรือให้มีอำนาจออกข้อบัญญัติ ในการนี้จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและ กำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้ แต่มิให้กำหนดโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติ ไว้เป็นอย่างอื่น” แก้ไขเพิ่มเติมเป็น “องค์การบริหารส่วนตำบลอาจออกข้อบัญญัติองค์การบริหาร ส่วนตำบลเพื่อใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้ องค์การบริหารส่วนตำบลออกข้อบัญญัติหรือให้มีอำนาจออกข้อบัญญัติ ในการนี้จะกำหนดโทษจำคุก หรือโทษปรับหรือทั้งจำและปรับผู้ละเมิดข้อบัญญัติไว้ด้วยก็ได้ แต่ห้ามมิให้กำหนดโทษจำคุก เกินหกเดือน และหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น” 5) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 อำนาจในการตราข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 97 ที่ว่า “ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะตราขึ้นได้ โดยความเห็นชอบของ สภากรุงเทพมหานคร เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ ของกรุงเทพมหานคร หรือเมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจตราเป็นข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร ซึ่งในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะกำหนดโทษผู้ละเมิดข้อบัญญัติไว้ด้วยก็ได้ แต่มิให้กำหนดโทษจำคุกเกินหกเดือน และปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท” สำหรับการเสนอร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 98 “ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพฯจะเสนอได้ก็แต่โดย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3