การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

121 แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เปิดกว้างให้มีการจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แม้ว่าทรัพยากรประมงจะเป็นส่วนหนึ่งของทรัพยากรธรรมชาติ แต่การที่กฎหมายกำหนดไม่ชัดเจน จึงก่อให้เกิดการตีความกฎหมายที่แตกต่างกันไป จากการ สัมภาษณ์เชิงลึก ของกลุ่มนิติกรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการระดมความคิดเห็นด้วยการ สนทนากลุ่ม เจาะ (Focus group) มีความคิดเห็นตรงกัน เกี่ยวกับการตีความกฎหมายว่า ทรัพยากรประมงเป็นส่วนหนึ่งของทรัพยากรธรรมชาติหรือไม่ ส่งผลต่อการนำไปใช้ในทางปฏิบัติ สำหรับการจัดการพื้นที่สาธารณประโยชน์ทางทะเลเพื่อผลักดันเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น กฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบันไม่ได้รับฟังจากคนในชุมชนที่ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมง อย่างแท้จริง ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีบริบทแตกต่างไม่เหมือนกันทำให้เกิดปัญหาตามมาหลายประการ อีกทั้งตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติการส่งเสริมและบริหารจัดการ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 ก็มีบทบาทเป็นเพียงกฎหมายที่มีหน้าที่ในการส่งเสริม และสนับสนุนเท่านั้น แม้ในปัจจุบันบางชุมชนมีการทำข้อตกลงร่วมกันเพื่อบังคับใช้กฎหมายการ จัดการทรัพยากรในท้องถิ่นของตนเอง แต่กฎกติกาข้อตกลงชุมชนดังกล่าวอาจไม่มีสภาพเป็นกฎหมาย และไม่มีผลบังคับใช้กับคนภายนอกชุมชนได้ ดังนั้น การผลักดัน ให้เกิดข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับ การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล ที่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ร่วมคิด ร่วมออกแบบ ร่วมสร้างกลไกทางกฎหมายให้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย จึงอาจเป็นอีกหนึ่ง ทางเลือกในการแก้ไขปัญหาและลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการทำประมงพื้นบ้านได้ ซึ่งสอดคล้อง กับพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2565 ที่กำหนดอำนาจและหน้าที่ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรและเสนอเทศบัญญัติ หรือข้อบัญญัติ ดังนี้ พระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2565 มาตรา 4 และ มาตรา 5 ให้โอกาสประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิเข้าชื่อกันเพื่อเสนอข้อบัญญัติ ได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น และให้หมายความรวมถึง การออกเทศบัญญัติ และข้อบัญญัติขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม การเข้าชื่อเพื่อเสนอ ให้ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นต้องอยู่ในขอบเขตตามที่กำหนดไว้มาตรา 6 ที่ว่า การเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติ ท้องถิ่นจะต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมาตรา 7 ผู้มีสิทธิเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นจะต้องเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น อยู่ในวันยื่นคำร้องเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น และมาตรา 8 ต้องไม่อยู่ในระหว่างเป็นผู้ถูกต้องห้ามมิให้ ใช้สิทธิเลือกตั้ง การเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น ต้องมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวมกันจำนวนไม่น้อยกว่า สามพันคนหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งในยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นภายหลังจากที่สภาท้องถิ่นนั้นสิ้นอายุหรือถูกยุบครั้งหลังสุด แล้วแต่จำนวนใดจะน้อยกว่า เห็นได้ว่ากฎหมายเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น ซึ่งตามกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่จำนวน 5 ฉบับ ได้กำหนดในลักษณะที่เหมือนกัน ในการให้สิทธิกับประชาชนเข้าชื่อเสนอการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นได้ กล่าวคือ พระราชบัญญัติ องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 กำหนดไว้มาตรา 52 “ร่างข้อบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดย...หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3