การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

123 ลำดับ ชื่อกฎหมาย อำนาจหน้าที่ การจัดการ ทรัพยากร เสนอเทศบัญญัติ/ ข้อบัญญัติ 6 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 ✓ ✓ 7 พระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2565  ✓ อำนาจรัฐในการออกกฎหมายเป็นการจัดการโดยภาครัฐเพื่อรักษาสมดุลระหว่างอำนาจ และผลประโยชน์ตามทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ อีกทั้งการเปิดโอกาสให้ชุมชนประมงท้องถิ่นเข้ามา มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลเป็นไปตามแนวคิดการกระจาย อำนาจเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง และภาครัฐดูแลในฐานมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการ 4.3 นวัตกรรมกฎหมายและข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบในการจัดการทรัพยากรประมง พื้นบ้านทางทะเล นิติศาสตร์ถือเป็นศาสตร์สาขาหนึ่งที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันกับศาสตร์ทางด้าน มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เนื่องจากเป็นการศึกษาแนวความคิด ทฤษฎี พฤติกรรมของมนุษย์ และสังคม เพื่อจะทำให้มีความเข้าใจความคิดและความต้องการของมนุษย์ เพื่อนำความคิดเหล่านั้น ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาด้านกฎหมาย ให้เข้ากับสังคมที่เป็นอยู่ การเรียนรู้ ค้นคว้าและหาคำตอบ ที่ได้จากการศึกษาแนวความคิด ทฤษฎี พฤติกรรมของมนุษย์และสังคมในอดีต จะนำไปสู่การต่อยอด กลายเป็นชุดความรู้หรือนวัตกรรมใหม่และจะเป็นประโยชน์กับสังคมปัจจุบัน จากสภาพความเปลี่ยนแปลงในการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล ปฏิเสธไม่ได้ว่า การทำประมงในปัจจุบันมีส่วนทำให้ทรัพยากรประมงถูกทำลายอย่างรวดเร็ว สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จากรูปแบบวิถีการผลิตเพื่อยังชีพในครอบครัวกลายเป็นการผลิตเพื่อการค้า ส่งผลให้ชาวประมง ปรับเปลี่ยน เครื่องมือเพื่อให้สามารถจับสัตว์น้ำได้มากขึ้น การทำประมงอย่างไร้ขีดจำกัด การใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย ล้วนส่งผลให้ทรัพยากรถูกทำลาย ระบบนิเวศเสื่อมโทรม ทรัพยากรสัตว์น้ำหลายชนิดสูญพันธ์ ถึงเวลาที่ทุกฝ่ายต้องหันกลับมาตระหนักถึงคุณค่าของ ทรัพยากรประมงที่มีอยู่ การใช้ประโยชน์ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรประมง อย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด แม้การออกกฎหมายไม่ใช้ทางออกของการแก้ปัญหา ที่ดีที่สุด แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการอยู่รวมกันในสังคมย่อมต้องมีกฎ ระเบียบ การสร้างนวัตกรรม ทางกฎหมายในการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลในรูปแบบของร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น คำว่า “นวัตกรรม” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความ หมายว่า “การกระทำหรือสิ่งที่ทำขึ้นใหม่หรือแปลกจากเดิมซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ” รูปแบบของ นวัตกรรมทางกฎหมายในรูปแบบของร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบ มีฐานคิดในการออกกฎหมาย ที่กำหนดถึงหลักการและเหตุผลในการบัญญัติขึ้นใหม่ หรือเป็นการพัฒนา ดัดแปลงมาจากของเดิม ที่มีอยู่แล้ว และผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3