การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

124 พร้อมปรับปรุงให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้นเป็นสิ่งจำเป็นที่มีความท้าทายในการจัดการทรัพยากร ประมงพื้นบ้านทางทะเลเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบัน ประเด็นปัญหาการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลที่มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ชายฝั่งทะเล ทำให้วิถีชีวิตของชาวประมงพื้นบ้านเปลี่ยนแปลงไปเกิดปัญหาการจัดการพื้นที่ สาธารณประโยชน์ทางทะเล มีการบุกรุก รวมถึงการซื้อขายพื้นที่ เพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ จากสัตว์น้ำ ในอนาคตหากยังไม่มีการจัดการทรัพยากรทะเลและการทำประมงพื้นบ้านอย่างจริงจัง การทะเลาะวิวาทเพื่อแย่งชิงทรัพยากรทวีมากขึ้น หากปล่อยไว้เนิ่นนานยากต่อการแก้ไข นอกจากนี้ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กับการทำประมงอาจเสื่อมโทรมลงเนื่องจาก ขาดการฟื้นฟูดูแล เพราะทุกคนหวังแต่เก็บเกี่ยวประโยชน์ขาดการบำรุง ดูแล รักษาอนุรักษ์ทรัพยากร ให้คงอยู่ตลอดไปอาจส่งผลให้ชาวประมงพื้นบ้านประสบปัญหาการจับสัตว์น้ำที่ลดน้อยลง และรายได้ น้อยลงไปด้วย จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้าน ทางทะเลว่าทำอย่างไรให้เกิดความความยั่งยืน ผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมข้อมูลที่ได้ มาจากการใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพจากการศึกษา เอกสาร แนวคิดทฤษฎี กฎหมายและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรประมงพื้นบ้าน และการวิจัย ภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการประมงพื้นบ้านทางทะเล จำนวน 5 กลุ่ม จำนวน 23 คน ได้แก่ ผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนจากกรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมเจ้าท่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบ อาชีพประมงพื้นบ้าน ภาคประชาสังคม จากสมาคมรักษ์ทะเลไทย และสมาคมสมาพันธ์ชาวประมง พื้นบ้านแห่งประเทศไทย พื้นที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และจังหวัดปัตตานี ต่อจากนั้นผู้วิจัยได้นำผลการสัมภาษณ์มาจัดการระดมความคิดเห็นด้วย สนทนากลุ่มเจาะจง (Focus group) เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2565 มีผู้เข้าร่วมสนทนาจำนวน 4 กลุ่ม จำนวน 10 คน เป็นระดับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ จากกลุ่มหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ตัวแทนจากกรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมเจ้าท่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกลุ่มผู้นำชุมชน ท้องถิ่น รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีประสบการณ์โดยตรง เกี่ยวกับการจัดการประมงพื้นบ้านทางทะเล ในพื้นที่จังหวัดสงขลาโดยแยกเป็นประเด็นปัญหา ดังนี้ 1. ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์เชิงลึก กำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ ประกอบด้วย 1) กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ ประกอบด้วย สำนักงานประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงาน ประมงนครศรีธรรมราช สำนักงานประมงจังหวัดสงขลา สำนักงานประมงจังหวัดปัตตานี สำนักงาน เจ้าท่าภูมิภาคสาขาสุราษฎร์ธานี สาขานครศรีธรรมราช สาขาสงขลา และสาขาปัตตานี สำนักงาน ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 สุราษฎร์ธานี ที่ 5 สงขลา และที่ 9 ปัตตานี กลุ่มองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และกลุ่มภาคประชาสังคม โดยกำหนดประเด็นสัมภาษณ์ที่เหมือนกัน 5 ประเด็น 2) ผู้นำชุมชนท้องถิ่นและผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน และ โดยดำเนินการเก็บรวบรวม ข้อมูลในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา และจังหวัดปัตตานี โดยกำหนดประเด็นสัมภาษณ์ที่เหมือนกัน 6 ประเด็น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3