การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

125 1.1 ผลของการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ กลุ่มองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และกลุ่มภาคประชาสังคม ดังนี้ ประเด็นข้อ 1 ท่านคิดว่า หน่วยงานของท่านมีบทบาทหน้าที่ในการจัดการ ทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลอย่างไรบ้าง 1) สำนักงานประมงจังหวัดมีหน้าที่ในการส่งเสริม และผลักดันให้กลุ่มประมงพื้นบ้าน ได้รวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน ส่วนการจัดการพื้นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเพื่อการใช้ประโยชน์ ร่วมกันของประมง จะเป็นไปตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 โดยผ่านคณะกรรมการ ประมงประจำจังหวัด ส่วนการตั้งองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นต้องจดทะเบียนกับกรมประมง เพื่อให้มี การบริหารจัดการและมีผู้แทนแสดงเจตนแทนกลุ่มได้ ส่วนสำนักงานประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช เห็นว่า การควบคุม กำกับ ดูแล โดยปกติหน่วยงานจะให้ชาวประมงเข้ามามีส่วนร่วม เช่น เป็นอาสาสมัคร ผู้ช่วยเจ้าพนักงาน และการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรให้เพียงพอสำหรับชาวประมง โดยการจัดหาพันธุ์สัตว์น้ำมาปล่อย หรือการส่งเสริมการทำธนาคารสัตว์น้ำ ให้ชุมชนกำหนดเขต อนุรักษ์หน้าบ้านของตนเอง เพื่อดูแลทรัพยากรมิให้มีการทำประมงผิดกฎหมายเกิดขึ้นในพื้นที่ ได้ให้การสนับสนุนและให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการทรัพยากรเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น 2) ชาวบ้านที่ทำประมงพื้นบ้านทางทะเล สามารถออกไปหาปลาในเขตทะเลชายฝั่ง ได้เพียง 3 ไมล์ทะเลนับจากแนวชายฝั่ง แต่ชาวบ้านก็กังวลว่า หากเรือประมงพื้นบ้านออกไปทำการ ประมงนอกเขตทะเลชายฝั่งแล้วเกิดอุบัติเหตุ หรือมีข้อพิพาทเกิดขึ้น คู่กรณีอีกฝ่ายอาจปฏิเสธ การชดเชยได้ และการกำหนดเขตชายฝั่ง มิใช่เพียงแก้ไขความขัดแย้งของชาวปร ะมงเท่านั้น แต่ส่งผลดีต่อการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำที่นับวันจะลดน้อยลง 3) สำนักงานประมงจังหวัด มีหน้าที่โดยตรงในการสนับสนุนให้ความช่วยเหลือ หรือ เป็นที่ปรึกษาให้กับประมงพื้นบ้านหรือชุมชนท้องถิ่นให้มีการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำทางทะเล ชายฝั่งให้มีความหลากหลายทางชีวภาพและทำอย่างไรให้เกิดความยั่งยืน จึงเกิดกฎกติกาของชุมชน ที่ได้รับฟังความคิดเห็นร่วมกัน และชุมชนผู้มีส่วนได้เสียในเขตพื้นที่ เพื่อให้เป็นเครื่องมือจัดการ ทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลในพื้นที่ร่วมกัน เนื่องจากกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ไม่สามาร ถ บังคับใช้ได้อย่างจริงแท้ อย่างเช่น การใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมายทำลายล้างสัตว์น้ำวัยอ่อนและ ทำให้สัตว์ลดน้อยลงที่ส่งผลต่อการทำประมงอย่างมาก ในส่วนสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขา ให้คำตอบเหมือนกันว่า กรมเจ้าท่ามีหน้าที่ดูแล เรื่องรับแจ้งเรือเข้าออกและจดทะเบียนเรือให้มีความปลอดภัย มั่งคง แข็งแรง และพิจารณาอนุญาต การปลูกสร้างสิ่งรุกล้ำลำน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่ชาวประมงไม่มีใบอนุญาต การบังคับใช้ต้องอาศัย ทั้งหลักนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ควบคู่กัน และเร่งประชาสัมพันธ์สร้างความรับรู้ฝ่ายผู้นำชุมชน และมีหน้าที่ส่งเสริมการจัดทำแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ส่วนพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทำได้เพียงแสดง แนวเขตเท่านั้น ซึ่งต้องระวังมิให้มีวางปะการังเทียม กีดขวางทางเดินเรือ ส่วนการวางซั้งหรือ กระโจมปลา แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำยังติดที่ข้อกฎหมายที่เจ้าท่าไม่สามารถอนุญาตได้เพราะอยู่ในเขต น้ำตื้นจะเป็นการกีดขวางการเดินเรือ เสนอว่าต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแบ่งพื้นที่ให้ชัดเจน สำหรับ ส่วนการทำประมงพื้นบ้านเป็นหน้าที่ของกรมประมงเป็นผู้ดูแล

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3