การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
126 4) ผลการสัมภาษณ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดสงขลาเห็นว่า องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่สนับสนุนส่งเสริมด้านฝึกอบรมอาชีพเกี่ยวกับการถนอมอาหารจาก ผลิตภัณฑ์ของปลาและจัดสถานที่เพื่อจำหน่ายอาหารทะเล รวมถึงมีส่วนร่วมทำแผนพัฒนาท้องถิ่นกับ ชุมชนในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 5) ผลการสัมภาษณ์ สำหรับภาคประชาสังคม นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมง พื้นบ้านแห่งประเทศไทย กล่าวมีภารกิจในการส่งเสริมสนับสนุนให้ชาวประมงมีการรวมกลุ่มเป็น องค์กร ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ใช้ประโยชน์ที่เหมาะสม ผลักดันให้มีการทบทวน ยกเลิกเครื่องมือประมงที่ทำลายล้าง ผลักดัน ให้มีกฎหมายที่ ให้องค์กรภาคประชาชนได้เข้าไป มีส่วนร่วมในการประสานงานนโยบาย ส่วนนายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย กล่าวว่า การจัดการทรัพยากร ประมงให้เกิดความยั่งยืนได้นั้น ต้องได้รับความร่วมมือกันทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน หรือ ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนสำคัญ สำหรับบทบาทหน้าที่ของสมาคมรักษ์ทะเลไทยนั้น เป็นองค์กรพัฒนา เอกชนที่เข้ามาช่วยส่งเสริมซึ่งมีหลักการและวิธีการ ในการลงพื้นที่ทำงานร่วมกับชุมชนประมงท้องถิ่น ที่มีความเข้มแข็ง เข้าไปส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนให้สามารถจัดการตนเองได้ มีการ ทำงานโดยส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ เช่น ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ พังงา ระนอง และ การทำงานในระบบเครือข่าย จากองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นของกรมประมง ซึ่งมีกิจกรรมในการ ส่งเสริม กิจกรรมวิชาการ งานวิจัย ประเด็นทางสังคม ประเด็นข้อ 2 ท่านคิดว่า หน่วยงานของท่านมีกิจกรรมด้านใดบ้างที่ช่วยส่งเสริมให้ เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน รวมถึงกลุ่มผู้ทำประมงพื้นบ้าน ทางทะเลอย่างไร ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก หน่วยงานภาครัฐ พบว่าให้คำตอบออกเป็น 3 แนวทาง 1) การประกาศเพื่อกำหนดพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือกำหนดห้ามใช้เครื่องมือ พื้นที่ หรือชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ หรือรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ ต้องผ่านรับฟังความคิดเห็นในพื้นที่ และเสนอเข้าที่ ประชุมคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด จะได้รับความร่วมมือจากผู้ทรงคุณวุฒิ ตัวแทนจาก ประมงพื้นบ้าน ประมงพาณิชย์ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กลุ่มอนุรักษ์ต่าง ๆ ประชุมรับฟังปัญหา ที่เกิดขึ้น จะมีสมาชิกองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นเท่านั้นที่จะเข้ามาร่วมพูดคุย แต่ประมงที่ทำประมง ผิดกฎหมายไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วม หน่วยงานรัฐพยายามดำเนินการให้ชาวประมงเข้ามามีส่วนร่วม ผ่านองค์กรชุมชน ประมงท้องถิ่น และให้ชาวประมงที่ใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย ปรับเปลี่ยนวิธีคิดและ เข้ามีส่วนร่วมและเป็นสมาชิกกับองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น สำนักงานประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี เห็นว่าการจดทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มประมงพื้นบ้านรวมตัวกัน ปัจจุบันที่ขึ้นทะเบียนมีประมาณ 60-70 กลุ่ม มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่ ของตนเอง อาจแบ่งได้เป็นด้านต่าง ๆ เช่น การแปรรูป ประมงพื้นบ้าน ประมงพาณิชย์ เพาะเลี้ยง สัตว์น้ำชายฝั่ง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด หรือกลุ่มอนุรักษ์เพื่อการจัดการใช้ประโยชน์ร่วมกัน เกิดเป็น ธนาคารสัตว์น้ำ โดยประมงพื้นบ้านบริเวณชายฝั่งทะเล ตั้งแต่อำเภอท่าชนะ ไปจนถึงอำเภอดอนสัก ได้รวมกลุ่มและทำกิจกรรมซึ่งได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากกรมประมง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ธนาคารออมสิน หรือภาคเอกชนที่มีการสนับสนุนโซล่าเซลล์ เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายให้กับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3