การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

2 และหารายได้เลี้ยงชีพจากการทำการประมงอย่างแท้จริง จากการรายงานข้อมูลสถิติเรือประมงไทย ปี 2564 พบว่า จำนวนเรือประมง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 มีจำนวน 61,832 ลำ แบ่งเป็น เรือประมงพื้นบ้าน จำนวน 51,237 ลำ และเป็นเรือประมงพาณิชย์ จำนวน 10,595 ลำ (กองนโยบาย และแผนพัฒนาการประมง กลุ่มสถิติการประมง, 2564) จะเห็นได้ว่าสัดส่วนของเรือประมงพื้นบ้าน มีจำนวนมากกว่าเรือประมงพาณิชย์ ประมงพื้นบ้านเป็นอาชีพที่มีอัตราเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย และมีแนวโน้ม ขยายตัวจากเดิมเนื่องจากผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านทางทะเลมีการแข่งขันทางการค้า และความสามารถด้านการทำประมงในการผลิตสินค้าและเป็นตลาดสินค้าสัตว์น้ำทางทะเ ล มีผู้ประกอบอาชีพด้านประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์อย่างหลากหลาย เป็นแหล่งอาหารเศรษฐกิจ ชุมชน และครอบครัว เมื่อความเจริญมากขึ้นจากเดิมที่ประกอบอาชีพประมงบริเวณชายฝั่งทะเล ที่เป็นอาชีพดั้งเดิมของคนในชุมชนมาช้านาน นับตั้งแต่มีชุมชนตั้งถิ่นฐานทั้งชุมชนฝั่งทะเลและชุมชน ในลุ่มน้ำ โดยอาศัยเครื่องมือจับสัตว์น้ำที่สร้างขึ้นอย่างง่าย โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น เป็นเครื่องมือสำหรับ จับสัตว์น้ำและไม่ทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำเกินความจำเป็น ต่อมามีการพัฒนาการทำประมงพื้นบ้าน ทำให้วิถีชีวิตประมงพื้นบ้านทางทะเลย่อมเปลี่ยนแปลงไปและการแข่งขันเริ่มมีมากยิ่งขึ้น การทำประมงพื้นบ้านทางทะเลเป็นกลุ่มชุมชนท้องถิ่นดำรงชีวิตหากินตามแนวชายฝั่งทะเล โดยใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำแบบพื้นบ้านที่ทำขึ้นเอง หรือเครื่องมือที่ซื้อหามาจากตลาด เช่น เครื่องมือ ประมงประเภทอวนครอบ (อวนครอบปลากะตัก อวนครอบหมึก) เครื่องมือประมงประเภทลอบ (ลอบหมึก ลอบหมึกสาย ลอบปลา ลอบปู) เครื่องมือประมงประเภทอวนติดตา (อวนติดตาปลาทู อวนติดตาปลาหลังเขียว อวนติดตากุ้ง อวนติดตาปู อวนติดตาอื่น ๆ (อวนลอย อวนจม ) เครื่องมือประมงประเภทเบ็ด (เบ็ดมือ เบ็ดราว) เครื่องมือประมงประเภทอวนรุนเคย เครื่องมือประมง ประเภทอวนจับแมงกะพรุน เครื่องมือประมงประเภทอื่น ๆ (กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง กลุ่มสถิติการประมง, 2565) ซึ่งเป็นการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่สอดคล้องกับสมดุลธรรมชาติและระบบ นิเวศ สำหรับคำว่าประมงพื้นบ้านนั้น ในพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 กำหนดคำนิยาม ไว้ในมาตรา 5 ซึ่งลักษณะการทำประมงพื้นบ้านทางทะเลมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ประเภทแรก เป็นการทำการประมงพื้นบ้านในเขตทะเลชายฝั่งที่ใช้เรือประมงออกไปหาสัตว์น้ำ และประเภทที่สอง เป็นการทำประมงในบริเวณชายฝั่งที่ไม่ใช้เรือทำการประมง เช่น การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล โดยพื้นที่ทำการประมงของประมงพื้นบ้านนั้นจะอยู่ในเขตทะเลชายฝั่ง นับจากชายฝั่งออกไปสามไมล์ทะเล ซึ่งกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการ ทรัพยากรสัตว์น้ำจะมีการออกกฎกระทรวงกำหนดเขตทะเลชายฝั่งในบริเวณใดมีระยะจากแนวชายฝั่ง ทะเลออกไปน้อยหรือมากกว่าสามไมล์ทะเลก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งจุดห้าไมล์ทะเลและไม่เกิน สิบสองไมล์ทะเล ซึ่งหากไม่มีการควบคุมการทำประมงหรือทำการประมงเกินขีดจำกัดแบบทำลายล้าง จะส่งผลให้ทรัพยากรสัตว์น้ำไม่สามารถเจริญเติบโตไม่ทันต่อความต้องการและอาจนำไปสู่ ความเสื่อมโทรมในที่สุด ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ตั้งแต่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ต่อเนื่องมาจนถึงฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการมีส่วนร่วมของ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3