การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
128 จะประชาสัมพันธ์สร้างความรับรู้ เจรจาผ่านผู้นำชุมชนท้องถิ่น ก ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้าน ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี 5) ผลการสัมภาษณ์ภาคประชาสังคม นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้าน แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันมีกระบวนการที่เกิดจากการมีส่วนร่วม มีการรวมกลุ่มกันเป็น คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หลายคนที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรเอกชน นักวิชาการ รวมทั้งชาวประมงพื้นบ้ านและประมงพาณิชย์ กลุ่มเพาะเลี้ยง กลุ่มแปรรูป ส่วนนายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย มีแนวทางดำเนินงานในอนาคต เพื่อแก้ปัญหาชาวประมงพื้นบ้าน รวมถึงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยให้การส่งเสริมหลายด้านที่ทำอยู่ ปัจจุบัน เช่น ส่งเสริมและพัฒนาการประมงพื้นบ้านสมัยใหม่โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีมา สนับสนุน จัดตั้งกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านเป็นองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นเป็นของตัวเอง ส่งเสริมชุมชน ประมงพื้นบ้านที่มีความหลากหลายทางเพศ และเพิ่มศักยภาพผู้หญิงในชุมชน จัดการผลผลิต การตลาด และการสื่อสารกับผู้บริโภค จัดตั้งกลุ่มผลิตสัตว์น้ำในชุมชน ส่งเสริมกิจกรรมฟื้นฟูอนุรักษ์ จำกัดขยะในชุมชนและเรือประมง ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน การเฝ้าระวังภัยพิบัติธรรมชาติ ส่งเสริมและพัฒนาชาวประมงพื้นบ้านสมัยใหม่ และการจัดตั้งโรงเรียนชาวประมงพื้นบ้าน สู่ความยั่งยืน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและข้อเสนอด้านการจัดการ ทรัพยากรประมง ทั้งระดับพื้นที่ จังหวัดและประเทศ ประเด็นข้อ 3 ผู้สัมภาษณ์ทราบว่า กลุ่มผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน บางพื้นที่ ได้มีการตกลงร่วมกันในการตั้งกฎ กติกา เพื่อปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการทำประมง พื้นบ้านทางทะเล ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับกฎ กติกานี้ ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า ในแต่ละหน่วยงานภาครัฐ ให้คำตอบเห็นด้วยกับการตั้ง กฎ กติกา ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ของจังหวัด คือ 1) สำนักงานประมงจังหวัดสงขลา เห็นด้วยกับกฎกติกาที่ชุมชนร่วมกันจัดทำขึ้น เพราะเป็นการจัดระบบจัดการพื้นที่ทำประมงของชาวบ้านด้วยกันเอง เนื่องจากมีการทำประมง ที่ผิดกฎหมายในพื้นที่ ทำให้สัตว์น้ำลดจำนวนลงจากการใช้เครื่องทำประมงที่ผิดกฎหมาย จึงมีการ ตกลงร่วมกันว่าจะจัดการอย่างให้เพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ และอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำไปพร้อมกัน ถ้าไม่กำหนดเขตอนุรักษ์ให้ชัดเจน ผลคือ ทำให้สัตว์น้ำวัยอ่อนที่หน่วยงานภาครัฐปล่อยไป ตามธรรมชาติ ถูกจับไปหมดสิ้นโดยไม่ทันเจริญเติบโตเต็มวัย วิธีการจัดทำกฎกติกาชุมชน โดยกลุ่มประมงพื้นบ้านรวมตัว เพื่อจัดตั้งกฎกติกา ร่วมกัน โดยใช้วิธีรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ เข้าร่วมเป็นที่ปรึกษา ในการออกกฎกติกาจนตกผลึกทางความคิดร่วมกัน และได้แนวทางและข้อเสนอแนะที่เหมาะสม ร่วมกันของทุกฝ่าย เป็นข้อบังคับใช้ในพื้นที่ร่วมกัน เช่น ในกฎกติกากำหนดการวางซั้งกอทำให้สัตว์น้ำ เพิ่มปริมาณมากขึ้น หรือจัดการใช้ทรัพยากรบริเวณหน้าบ้านของตนเองเพื่อกำหนดแนวเขตอนุรักษ์ ในการวางซั้งที่ชัดเจน เป็นห่วงโซ่อาหารให้สัตว์น้ำขนาดเล็กเข้ามาอยู่อาศัย เป็นแหล่งอนุบาล และมีสัตว์น้ำขนาดใหญ่ เข้ามาหากินบริเวณใกล้เคียง เสริมด้วยการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ หรือ ทำธนาคารสัตว์น้ำ ภายใต้กฎกติกาของชุมชน รวมถึงกำหนดบริเวณเขตอนุรักษ์ที่มีกฎกติกาห้ามจับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3