การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
129 สัตว์น้ำ แต่นอกจากแนวเขตอนุรักษ์ที่กำหนดไว้แล้วสามารถทำการประมงได้ เมื่อมีการฝ่าฝืนหรือ ละเมิดก็มีบทลงโทษเพื่อให้การบังคับใช้มีประสิทธิภาพ สำหรับกฎกติกาของชุมชนมีบทลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนในเขตอนุรักษ์ ดังนี้ 1. วัสดุอุปกรณ์จัดทำแนวเขตอนุรักษ์และวัสดุซั้ง เป็นทรัพย์สินของส่วนรวม ห้ามบุคคลใดลักขโมย หรือทำลายให้สูญเสียสภาพการใช้งาน ผู้ใดฝ่าฝืนหรือละเมิดจะดำเนินคดี ตามกฎหมายสูงสุด/กติกาของชุมชน 2. ห้ามทำการประมงทุกชนิดและห้ามกระทุ้งน้ำในแนวเขตอนุรักษ์ 3. ผิดครั้งแรกจะว่ากล่าวตักเตือน ทำประวัติ/ผิดครั้งที่สอง ปรับ 2,000 บาทหรือ 2 เท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่จับได้ให้แก่สมาคมประมงพื้นบ้านชายฝั่งอ่าวไทย อำเภอสทิงพระ/ ผิดครั้งที่สาม ยึดสัตว์น้ำและยึดเครื่องมือ เป็นเวลา 30 วัน (เก็บไว้ที่สมาคมประมงพื้นบ้านชายฝั่ง อ่าวไทย อำเภอสทิงพระ) 4. ลักขโมยหรือครอบครองแกลลอนเขตอนุรักษ์ในช่วงเวลาจัดวางซั้ง ปรับลูกละ 500 บาทให้แก่สมาคมประมงพื้นบ้านชายฝั่งอ่าวไทย อำเภอสทิงพระ ผู้ทำการฝ่าฝืนลักลอบใช้ลอบปูทำการประมงในเขตอนุรักษ์ โดยประมงอาสาเข้าไป ตักเตือน และประมงอำเภอได้ประชาสัมพันธ์ในที่ประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านแล้วยังพบการฝ่าฝืน ประมงอำเภอและผู้ใหญ่บ้านจึงได้บันทึกว่ากล่าวตักเตือน เมื่อพบการกระทำความผิดซ้ำเป็นครั้งที่ 2 จึงได้มีการปรับ 2,000 บาท มีหลักฐานการออกใบเสร็จรับเงินค่าปรับของสมาคมประมงพื้นบ้าน ชายฝั่งอ่าวไทย อำเภอสทิงพระ และลงบันทึกประจำวันแจ้งเป็นหลักฐานกับสถานีตำรวจภูธรสทิงพระ กฎกติกาที่บังคับใช้ได้จริงจะทำให้ทุกคนยอมรับ แม้ว่ากฎกติกาจะไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นการยอมรับ และเคารพซึ่งกันและกันในกฎที่ตั้งขึ้นมา ปัญหาก็คือ กฎกติกาที่สร้างขึ้นเป็นที่รับรู้เฉพาะในชุมชนเท่านั้น ชาวประมงจาก ชุมชนอื่นเข้ามาทำการประมงยังไม่รับรู้ถึงกฎกติกา จึงมีการเริ่มขยายเครือข่ายไปทำในพื้นที่อื่น ๆ จนเป็นที่รับรู้มากขึ้น และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มชาวประมงในพื้นที่อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) สำนักประมงจังหวัดปัตตานี เห็นว่าที่ปัตตานี มีการจัดตั้งกฎกติการ่วมกัน ที่มีผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชาวประมงพื้นบ้าน และชาวบ้านผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ ร่วมกัน กำหนดแนวเขตอนุรักษ์ และนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดปัตตานี ประกาศเป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำในอ่าวปัตตานี 3 แปลงใน 3 ตำบล คือ ตำบลบาราโหม ตำบลตันหยงลุโละ และตำบลบานา ที่ห้ามทำการประมงทุกชนิด โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อเดือนกันยายน 2564 เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับชาวประมงพื้นบ้านว่าพื้นที่ดังกล่าว เป็นแหล่ง อนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนจะทำให้สัตว์น้ำเพิ่มขึ้น และส่งผลดีต่อชาวประมงพื้นบ้าน กฎกติกาที่ออกโดยชุมชน จะทำให้ชาวประมงในพื้นที่เคารพกฎกติกาดังกล่าว แต่กฎกติกาที่เกิดขึ้นไม่ได้มีการทำทุกชุมชน มีเกิดขึ้นเพียงบางชุมชนที่ผู้นำชุมชนเข้มแข็งเท่านั้น การขยายให้องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นเกิดความเข้มแข็ง จะต้องขึ้นอยู่กับประธาน รองประธาน คณะกรรมการ เป็นตัวหลัก จะต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส สมาชิกจะต้องรับรู้การดำเนินการ งานองค์กร กระบวนการเกิดขึ้นขององค์กรส่วนใหญ่เกิดจากชุมชนเอง หน่วยงานภาครัฐเป็นเพียง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3