การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
130 ผู้แนะนำ ส่งเสริม สนับสนุน การรวมกลุ่ม เมื่อได้รับจัดสรรงบประมาณก็จะให้องค์กรเป็นผู้คิด วางแผน ในการใช้จ่ายงบประมาณเอง 3) สำนักงานประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช เห็นว่า การมีกฎกติกากลุ่มชาวประมง หรือชุมชนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและมั่นคงในอาชีพประมงพื้นบ้าน ร่วมกันดูแล เพื่อส่วนรวม กฎกติกาต้องไม่ขัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในแต่ละพื้นที่จะกำหนดกฎกติกา ไม่เหมือนกัน เช่น อำเภอปากพนัง ระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม มีการกำหนดกฎกติกา ห้ามทำการประมงในพื้นที่อนุรักษ์หน้าบ้าน แต่นอกเหนือจากช่วงเวลานั้นชาวประมงสามารถเข้าไป ทำการประมงในพื้นที่ดังกล่าวได้โดยห้ามใช้เครื่องประมงที่ผิดกฎหมาย ส่วนพื้นที่อำเภอหัวไทร หลังจากมีการวางซั้งที่อาศัยของสัตว์น้ำ มีการกำหนดห้ามใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายเข้าไป ทำการประมงในพื้นที่ การออกกฎกติกาชุมชนจะไม่ขัดกับพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ที่ห้ามทำการประมงด้วยเครื่องมือที่ผิดกฎหมายอยู่แล้ว และห้ามมีไว้ในความครอบครองเพื่อทำการ ประมง เช่น โพงพาง ลอบไอโง่ อวนรุน อวนลากถุงตาขนาดเล็ก การกำหนดกฎกติกาของชุมชน ก็เพื่อห้ามทำการประมงผิดกฎหมายในพื้นที่อนุรักษ์หน้าบ้าน จึงเป็นการห้ามที่อยู่ภายใต้กฎหมาย การละเมิดกฎหมายอาจเกิดจากคนในชุมชนเอง หรือจากนายทุน แพรับซื้อ รายใหญ่นำคน จากนอกชุมชน เข้ามาทำการประมงผิดกฎหมายในพื้นที่ นอกจากนี้แล้ว ในระดับท้องถิ่นมีการบริหาร จัดการทรัพยากรที่ดี และมีการดำเนินการอย่างจริงจัง เช่น พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา มีการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นทางทะเล เพื่อดูแลทรัพยากรร่วมกัน 4) สำนักงานประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี เห็นว่าการตั้งกฎกติการ่วมกันของชุมชน หากชุมชนมีความต้องการ ซึ่งหน่วยงานรัฐพร้อมให้การสนับสนุนในการรับฟังความคิดเห็นจนตกผลึก ทางความคิดร่วมกัน เพื่อการจัดการทรัพยากรเป็นส่วนที่ทำให้ชุมชนเกิดการหวงแหน ป้องกันและ รักษาใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่ามากที่สุด และที่สำคัญเป็นการบริหารจัดการโดยชุมชนเป็นผลดีต่อการใช้ ทรัพยากรสัตว์น้ำที่คุ้มค่าและร่วมกันรักษาแหล่งอาหารทางทะเล 5) สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสุราษฎร์ธานี และสงขลา เห็นว่า กฎกติกาชุมชนต้อง อ้างอิงจากกฎหมาย และไม่เห็นด้วยกับการใช้มติของกติกาชุมชน เพราะอาจขัดกับประกาศ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัด ส่วนสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสุราษฎร์ธานี สาขา นครศรีธรรมราช และสาขาปัตตานี เห็นว่า หากท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดการทรัพยากรประมง พื้นบ้าน จะทำให้ท้องถิ่นได้ดูแลพื้นที่ตนเอง โดยหน่วยงานของรัฐที่กำกั บดูแลเรื่องต่าง ๆ ทั้งกรมประมง กรมเจ้าท่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ฯลฯ ให้ความรู้กับท้องถิ่น จะทำให้ กฎหมายจากส่วนกลางลงไปสู่ท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นได้สำรวจความต้องการในการจัดการทรัพยากร ประมงพื้นบ้านในพื้นที่ของตนเอง จะนำไปสู่การออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากร ตามลักษณะของท้องถิ่นนั้น การให้ราชการส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาคลงไปกำกับดูแล ส่วนใหญ่เป็น การกำกับดูแลในภาพรวมของแต่ละจังหวัด ซึ่งการจัดการทรัพยากรแต่ละพื้นที่มีบริบทที่แตกต่างกัน จึงอาจทำให้กฎหมายขัดกับวิถีชีวิตการทำประมงของชาวบ้าน แม้จะมีกฎหมายบังคับที่เข้มงวด แต่ไม่สามารถใช้งานได้จริง เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ คิดว่าในอนาคต อาจมีการปรับเปลี่ยนให้ราชการส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค กำกับดูแลในภาพรวม และมอบอำนาจให้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3