การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

131 ท้องถิ่นดูแลพื้นที่ของตนเอง เนื่องจากท้องถิ่นจะใกล้ชิดและทราบความต้องการของชาวบ้านในพื้นที่ มากกว่า ปัญหาอาจอยู่ที่ความพร้อมของท้องถิ่นในการรับถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ 6) สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เห็นด้วย การจัดตั้งกฎกติกา เพื่อใช้ บริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งบริเวณหน้าบ้านของตนเอง เช่น ชมรมประมงพื้นบ้าน ตำบลปะนาเระ สมาชิกในชมรมและชาวประมงในพื้นที่มีการทำข้อตกลงร่วมกัน กำหนดเขตอนุรักษ์ ชายฝั่งโดยอาศัยฐานข้อมูลทรัพยากรขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและสภาพพื้นที่แต่ละชุมชน โดยวางทุ่น กำหนดเขตห้ามทำการประมงทุกชนิด ผลการดำเนินการสมาชิกชมรมและชาวประมงพื้นบ้านอยู่ดี กินดี ตอบสนองความต้องการของชุมชน ทรัพยากรสัตว์น้ำมีความอุดมสมบูรณ์ สามารถจับสัตว์น้ำ ได้ตลอด หน่วยงานภาครัฐมีบทบาทเป็นเพียงที่ปรึกษาให้กับชุมชนชายฝั่งเท่านั้น การจัดการ ทรัพยากรประมงจะอยู่ในลักษณะ “หน้าบ้านใครหน้าบ้านมันจัดการกันเอง” โดยไม่ล่วงล้ำพื้นที่ หน้าบ้านของคนอื่น ซึ่งกฎกติกาดังกล่าวจะมีการประกาศให้ชาวบ้านในพื้นที่ชุมชนใกล้เคียงรับทราบ หากแต่ละชุมชนมีการบริหารจัดการทรัพยากรหน้าบ้านของตนเองให้มีความอุดมสมบูรณ์จะทำให้ ไม่เกิดปัญหาความขัดแย้งเรื่องพื้นที่ทำการประมง ซึ่งกฎกติกาจะเกิดขึ้นได้นั้นจะอาศัยความเข้มแข็ง ของชุมชน อีกทั้งยังมีมาตรการชุมชนที่จะไม่รับซื้อสัตว์น้ำที่ได้มาจากการใช้เครื่องมือประมง ที่ผิดกฎหมาย 7) ผลการสัมภาษณ์ องค์กรปกครองท้องถิ่น เห็นว่า การสร้างกฎกติกาชุมชนเกี่ยวกับ การทำประมงพื้นบ้าน เป็นที่ยอมรับและปฏิบัติตาม สามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ระดับหนึ่ง เพราะคนในชุมชนย่อมรู้ปัญหาที่แท้จริงจึงร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยกันเอง ส่วนการตรา เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจะต้องมีกฎหมายระดับพระราชบัญญัติให้อำนาจไว้ มีความกังวลว่าจะไป ทับซ้อนกับภารกิจที่มีหน่วยงานหลักดูแลอยู่ ซึ่งหน่วยงานนั้นยังไม่ได้ถ่ายโอนภารกิจให้กับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และขอบเขตอำนาจหน้าที่ยังไม่มีความชัดเจน ในอนาคตหากหน่วยงานหลัก ถ่ายโอนอำนาจให้ส่วนท้องถิ่นดูแล ต้องดูด้านความพร้อมด้วย ทั้งด้านกำลังพล งบประมาณ เพราะ ท้องถิ่นจะมีข้อมูลเชิงลึกและรับทราบปัญหาที่แท้จริง เสนอว่า ประชาชนควรมีสิทธิในการจัดการและ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงในพื้นที่ของตนเองเป็นวิถีชีวิตแต่ดั้งเดิม สร้างความรับรู้ให้กับ ชาวบ้าน แต่สิ่งสำคัญ หน่วยงานภาครัฐจะเข้าไปกำหนดกฎเกณฑ์ กติกา ในการจัดการทรัพยากร ให้เกิดความยั่งยืน จะต้องตั้งอยู่บ้านพื้นฐานการทำความเข้าใจของผู้ประกอบอาชีพประมงด้วย 8) ผลการสัมภาษณ์ ภาคประชาสังคม นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่ง ปร ะ เทศ ไทย กล่าว ว่ากฎหม าย น โยบ าย ข้อบัญ ญั ติท้อ งถิ่น จะ เน้น ไปด้าน ก า รฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนกติกาชุมชนเป็นเรื่องคนในชุมชนแต่ละชุมชนร่วมกันกำหนดขึ้น เช่น กำหนดเขตอนุรักษ์ การใช้เครื่องมือในการจับสัตว์น้ำ ซึ่งการออกกฎ กติกาชุมชนท้องถิ่น จะได้รับการ ยอมรับและปฏิบัติมากกว่ากฎหมาย แล้วแต่บริบทของชุมชนและพื้นที่ เห็นได้จากวิถีชีวิตของ ชาวประมงพื้นบ้านที่เป็นมุสลิมส่วนใหญ่จะไม่ออกทำการประมงในทุกวันศุกร์ตั้งแต่รุ่งเช้าถึงเวลา บ่ายโมง การนำเครื่องมือที่ผิดกฎหมายมาใช้ส่งผลต่อการสูญเสียต่อจำนวนสัตว์น้ำด้วย ส่วนประเด็น ด้านการโอนอำนาจให้ท้องถิ่น ยังมีปัญหาข้อกฎหมาย มีการกระจายผ่านคณะกรรมการนโยบาย ประมงแห่งชาติ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัด และองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น ส่วนการทำงาน ของเจ้าหน้าที่ยังมีปัญหา ขาดการบูรณการ เข้ากับชุมชนไม่ได้ ในส่วนชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทมาก

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3