การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

133 ประมงจังหวัดสงขลา เสนอว่าการป้องกันต้องมีการปรึกษาพูดคุยและหาทางออก ร่วมกัน เสนอไว้ 3 ประการ ว่า 1) ควรการกำหนดพื้นที่การใช้เครื่องมือ เช่น ลอบปลา อวนปู อวนลอยหน้าผิวน้ำ 2) ควรกำหนดช่วงเวลา วันทำการประมงที่เหมาะสมกับเครื่องมือประมง เช่น ช่วงน้ำเกิด น้ำตาย เดือนมืด เดือนหงาย (ข้างขึ้นข้างแรม) หรือการแสดงสัญลักษณ์ที่เห็นชัดเจน เช่น เสา ทุ่นลอย ธง 3) ควรระบุพื้นที่ พิกัดตำแหน่งของการใช้เครื่องมือนั้น ๆ ให้ผู้ทำการประมงเครื่องมือ อื่น ๆ ได้ทราบ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายของเครื่องมือประมงทั้งสองฝ่าย เป็นการลดความขัดแย้ง ที่ได้ผลดี ประมงจังหวัดปัตตานี เห็นว่าในพื้นที่จังหวัดปัตตานียังมีปัญหาการใช้เครื่องมือ ประมงผิดกฎหมาย แต่พยายามสร้างความเข้าใจกับผู้ทำประมง โดยใช้วิธีทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ผ่านการประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และนำหลักวิชาการถึงการถึงความเสียหายในการเครื่องมือที่มีการ ทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อนระยะก่อนสืบพันธุ์ อันเป็นการตัดวงจรการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำและในที่สุด จะไม่มีสัตว์น้ำให้จับ โดยใช้มาตรการจากเบาไปหาหนักและสร้างจิตสำนึกให้กับชาวประมง ส่วนหน่วยงานภาครัฐ ได้นำแนวแก้ไขปัญหาด้วยการให้ชาวประมงรวมกลุ่ม ขึ้นทะเบียนเป็น องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น เพื่อจะได้งบประมาณจากภาครัฐมาส่งเสริมสนับสนุนได้บ้าง แต่ก็ไม่มากนัก ในจังหวัดปัตตานีมีปัญหาการขัดแย้งในพื้นที่เลี้ยงหอยแครงของประมงพื้นบ้านกับ ประมงพาณิชย์จากการซื้อขายสิทธิในเขตทะเลชายฝั่ง เพื่อระงับความขัดคณะกรรมการประมง มีมติไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องมือเก็บหอยแครง แต่ให้เก็บหอยแครงด้วยมือเท่านั้น ปัจจุบันปัญหา ความขัดแย้งหมดสิ้นไป 2) สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขา เห็นว่า อาจจัดแบ่งพื้นที่เป็นเขตอนุรักษ์ให้ทรัพยากร สัตว์น้ำได้มีแหล่งอนุบาลตัวอ่อน โดยภาครัฐเป็นผู้บริหารจัดการพื้นที่ หรือเขตทำ การประมง เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งแผนการจัดการพื้นที่ ประกอบด้วยพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้เพาะเลี้ยงหอย ทับซ้อนกับพื้นที่ทำการประมงของประมงพื้นบ้าน จึงจะต้องมีการจัดสรรพื้นที่เพื่อลดปัญหา ความขัดแย้ง นอกจากนี้ ต้องสร้างความเข้าใจ และการรับรู้ให้กับชาวประมงผ่านทางสมาคมและ กลุ่มต่าง ๆ แต่ละจังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ปกติจะมีศูนย์รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) เข้ามาเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการกับส่วนต่าง ๆ การบังคับใช้กฎหมายจะให้ หน่วยงานที่รับผิดชอบปกติเป็นผู้ดำเนินการ แต่หากเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงที่หน่วยงานปกติ ไม่สามารถดำเนินการได้ ศรชล. ก็จะเข้ามาดำเนินการ เช่น กรณีอ่าวบ้านดอน ส่วนสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หน่วยงานภาครัฐควรจัดพื้นที่ แนวเขตที่ชัดเจนให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรหน้าบ้าน มีการวางซั้งบ้านปลา ต้องมอง ส่วนรวม และมองชุมชนเป็นหลัก จะทำอย่างไรให้ชาวบ้านมีรายได้ เลี้ยงชีพตนเองได้อย่างยั่งยืน และ เป็นแนวทางหนึ่งที่ป้องกันไม่ให้เกิดการแย่งพื้นที่ทำประมงพื้นบ้านทะเล 3) ควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมจัดการปัญหาตามความต้องการของชุมชน กำหนดกฎเกณฑ์ กติกาที่ชัดเจน สร้างการรับรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน กำหนดมาตรการเฝ้าระวังให้ชุมชนเข้ามามี ส่วนร่วม ส่วนราชการมีความจริงจัง การบังคับกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ทั้งหมด หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ในการส่งเสริม อนุรักษ์ ป้องกัน ปราบปราม ควรรับฟัง ความคิดเห็นของชุมชน ให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนสามารถอยู่ร่วมกันได้ ชาวประมงสามารถ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3