การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
134 ทำมาหากินได้ ทรัพยากรประมงไม่ถูกทำลายต้องช่วยกันดูแลแหล่งอาหาร สร้างงาน และสร้างรายได้ จึงจะเกิดความยั่งยืนได้ 4) ผลจากการสัมภาษณ์ นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย เห็นว่า ปัจจุบันปัญหาการแย่งชิงพื้นที่ในการทำประมงเกิดขึ้นน้อยมาก เพราะมีกลุ่ม NGOs กลุ่มอนุรักษ์เข้าไปทำงานช่วยสนับสนุน เช่น กลุ่มสมาคมรักษ์ทะเลไทย ในหลายพื้นที่เกิดขึ้นเนื่องจาก มีการละเมิดกฎหมาย เช่น เรือประมงพาณิชย์รุกล้ำเข้ามาทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง หรือ มีกลุ่มทุนมาจับจองพื้นที่เป็นของปัจเจกชนเพื่อทำการประมง เช่น การเลี้ยงหอย เลี้ยงปลา ปักหลักโพงพางเป็นต้น ซึ่งอาจเป็นพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้จับจองทำมาหากิน และรัฐแบ่งพื้นที่ ให้ทำกิน โดยออกใบสำคัญให้ทำกิน โดยในอดีตรัฐมีโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน เช่น ตราจอง นส.3 แต่ชาวบ้านกลับนำไปจำนอง นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย เห็นว่าทะเลเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ ยกเว้นพื้นที่ อนุรักษ์ ที่ทุกคนมีสิทธิเข้าถึง แต่การเข้าถึงจะต้องทำตามกฎกติกา เช่น ต้องมีใบอนุญาต ต้องเป็น ชาวประมงที่จดทะเบียน และเรือต้องจดทะเบียน สำหรับลักษณะการเพาะเลี้ยงในทะเล อาจเป็นได้ เป็น 2 รูปแบบ คือ เพาะเลี้ยงในกระชัง และการเลี้ยงหอย ซึ่งยังมีปัญหาอยู่มาก มีการเข้าถึงโดยสิทธิ ตามกฎหมายและเข้าถึงโดยเงื่อนไขอิทธิพลท้องถิ่น เช่นในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่อนุญาต เพาะเลี้ยงจริงมีประมาณ 80,000 ไร่ แต่ที่เลี้ยงจริงมีประมาณ 200,000 ไร่ กำลังอยู่ในขั้นตอนแก้ไข ของหน่วยงานภาครัฐ แต่คาดว่าจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่มีกำลังเพียงพอ การแก้ไขปัญหาจะต้องมีการบูรณาการร่วมกันกับทุกฝ่าย ถึงแม้กฎหมายจะดีแค่ไหน ถ้าการบังคับใช้ ยังไม่มีประสิทธิภาพก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ มีชาวบ้านบางส่วนที่เห็นดีเห็นงามว่าการกระทำผิด ดังกล่าวเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ปัญหาจึงยังไม่สามารถแก้ได้ แต่เมื่อใดที่สังคมเติบโตขึ้นก็อาจแก้ได้ สำคัญอยู่ ที่สำนึกของพลเมือง สมาคมรักษ์ทะเลไทยร่วมกับเครือข่าย มีความพยายามในการแก้เชิงระบบ และ แก้ไขเป็นบางหมู่บ้าน ทำงานเสริมความคิดความเข้าใจกับแกนนำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ค่อย ๆ ขยายเครือข่ายต่อไปเรื่อย ๆ อาจต้องใช้เวลา เช่น ที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ มีการวางกติการ่วมกับภาครัฐ ประเด็นข้อ 5 ท่านคิดว่า การจัดการพื้นที่ทรัพยากรเกี่ยวกับการทำประมงพื้นบ้าน ทางทะเลควรมีรูปแบบและวิธีการจัดการอย่างไรให้เกิดความยั่งยืน ผลคำตอบการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า หน่วยงานภาครัฐ จากผู้แทนประมงจังหวัด ทั้ง 4 จังหวัดมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ คือ 1) ประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี เห็นว่า การจัดการพื้นที่เรื่องทำประมงพื้นบ้าน หากชุมชนมีความต้องการ หน่วยงานรัฐพร้อมให้การสนับสนุน และในการรับฟังความคิดเห็น เพื่อตกผลึกความคิดและความต้องร่วมกัน ส่วนประเด็นจัดการทรัพยากรเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องร่วมมือ ช่วยกันดูแล รักษา จะทำให้ชุมชนเกิดการหวงแหนทรัพยากรที่ใช้เป็นแหล่งทำมาหากิน สำหรับ การใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย ประเภทลอบพับหรือไอโง่ และอวนรุน เป็นเครื่องมือที่ทำลาย สัตว์น้ำวัยอ่อน จำเป็นต้องทำความเข้าใจกับชาวบ้าน สร้างการมีส่วนร่วมด้วยกัน การบังคับใช้ กฎหมายที่เข้มงวดมากขึ้นในทางปฏิบัติไม่สามารถบังคับได้อย่างแท้จริง ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช เห็นว่า ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พบการกระทำประมงผิดใช้เครื่องมือผิดกฎหมายในเขตทะเลชายฝั่ง หน่วยงานรัฐใช้วิธีจัดการแก้ไข
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3