การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

135 ปัญหาในพื้นที่อ่าวปากพนัง ทำเป็นโครงการ “ปากพนังโมเดล” ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจ ให้ผู้ทำประมงเข้ามีส่วนร่วม ใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก เน้นการประชาสัมพันธ์ ว่ากล่าวตักเตือน หากไม่ได้ผลจะมีการใช้มาตรการปราบปราม และส่งเครื่องมือที่ผิดกฎ หมาย หากไม่ส่งจะดำเนินการยึดเครื่องมือนั้น มีการเฝ้าระวังพื้นที่แต่มีจำกัดเฝ้าระวังได้ตลอดเวลา มาตรการสุดท้ายใช้วิธีจับกุม และอีกวิธีหนึ่งคือ สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน สนับสนุน องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น ส่งเสริมอาชีพเพื่อให้ชาวประมงมีรายได้เสริม และกรมปร ะมงจะมี งบประมาณส่วนหนึ่งให้เพื่อเพิ่มมูลค่าสัตว์น้ำ เช่น การทำปลาเส้น ปลาแดดเดียว และขายสินค้า ผ่านช่องทางออนไลน์ และอีกวิธีหนึ่งคือ เปลี่ยนวิธีคิดให้กับชาวประมง ช่วยกันอนุรักษ์ ดูแล รักษา ทรัพยากรที่เป็นแหล่งหารายได้และใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยนำสถาบันการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วม สร้างจิตสำนักให้กับชาวประมง ประมงจังหวัดสงขลา เสนอให้ 1) ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการตั้งแต่ เริ่มต้นตลอดจนการใช้ทรัพยากรต้องมีความเป็นธรรมกับทุกเครื่องมือประมงและทุกฝ่ายได้ใช้ ประโยชน์ร่วมกัน 2) จัดกิจกรรมที่ส่งผลระยะยาวต่อการอนุ รักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ สร้างรายได้แลอาชีพที่ยั่งยืนของชาวประมง เช่น การจัดทำแนวเขตอนุรักษ์ การวางซั้งบ้านปลา การปล่อยสัตว์น้ำ การกำหนดกติกาของชุมชน การจัดทำธนาคารสัตว์น้ำ โรงเพาะฟักชุมชน 3) การจัดเงินอุดหนุนให้กับชุมชนเพื่อต่อยอดกิจกรรมที่ชุมชนทำได้เพื่อความยั่งยืน และมีความ หลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ ประมงจังหวัดปัตตานี เห็นว่า ชาวประมงและชุมชนท้องถิ่นใช้วิธีจัดการพื้นที่ ทรัพยากรด้วยการทำแนวเขตอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำหน้าบ้านในชุมชนของตนเอง กำหนด แนวเขตชายฝั่งออกไปประมาณครึ่งกิโลเมตร และความยาวประมาณหนึ่งกิโลเมตร มีการวางซั้ง ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ กำหนดกฎกติกาขึ้นเอง เช่น จะไม่ทำการประมงทุกชนิดในบริเวณนี้ คล้ายเขต รักษาพันธุ์สัตว์น้ำของรัฐ ส่วนพื้นที่นอกเขตชายฝั่ง ได้วางซั้งเพิ่มเติม ทำให้ชาวบ้านสามารถจับสัตว์น้ำ บริเวณนอกเขตได้ ซึ่งการทำเขตอนุรักษ์ของชาวบ้านนั้น ต้องทำความเข้าใจกับชาวบ้านด้วยว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ทุกคนมีสิทธิเข้าไปทำการประมงได้ แต่ต้องใช้ เครื่องมือที่ถูกกฎหมาย และให้ชาวบ้านในหมู่บ้านอื่นเข้ามาทำการประมงได้ ซึ่งหลักคิดของศาสนา อิสลามถือว่าเป็นการแบ่งปันให้กับเพื่อนมนุษย์ ทรัพยากรเป็นสิ่งที่พระเจ้าให้มาต้องช่วยกันดูแล การทำแนวเขตอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำหน้าบ้านของตนเอง เป็นกลไกสำคัญในการฟื้นฟู ทรัพยากร ปัจจุบันไม่มีการทำฟาร์มทะ เลแล้วแต่มีการปรับเปลี่ยน เป็นการทำ เขตพื้นที่ รักษาพันธุ์สัตว์น้ำแทน 2) สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เห็นว่า ควรจัดรูปแบบและวิธีการจัดการ ทรัพยากรประมงพื้นบ้านให้เกิดความยั่งยืนนั้นด้วยการดึงชาวบ้านให้เข้ามามีส่วนร่วมผ่านการเป็น เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล แต่อาจต้องใช้เวลา มิใช้เฉพาะภาครัฐเท่านั้นภาคเอกชน และ ภาคประชาชนต้องให้ความสำคัญกับสาธารณประโยชน์เป็นหลัก จะต้องให้ชาวบ้านรับรู้ประโยชน์ ที่เค้าจะได้รับระยะยาว ส่วนการจัดการทรัพยากรที่จะให้เกิดความยั่งยืนได้นั้น ต้องให้ชุมชน มีความเข้มแข็ง องค์ประกอบที่ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งได้นั้นอยู่ที่การสร้างจิตสำนึกผู้นำชุมชนเป็น กลไกประสานงานให้ชุมชนนั้นเกิดความเข้มแข็งขึ้นในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้ามามีส่วน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3