การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
137 ความยั่งยืน ซึ่งรัฐจะต้องเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนทั้งงบประมาณและกำลัง ให้ชาวบ้านสามารถ อยู่ได้ 1.2 การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้นำชุมชนและผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ผลการสัมภาษณ์ ผู้นำชุมชนและผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ในพื้นที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา และจังหวัดปัตตานี โดยกำหนดประเด็น สัมภาษณ์ไว้ 6 ประเด็น ผลของการสัมภาษณ์สรุปได้ ดังนี้ ประเด็นข้อ 1 การทำประมงพื้นบ้านทางทะเลในปัจจุบันมีปัญหาและอุปสรรค อย่างไร ผู้นำชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เห็นว่า ยังมีปัญหาแย่งพื้นที่เพราะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีหลายหน่วยงานรัฐเข้าไปแก้ไขปัญหา แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ชาวบ้านแก้ปัญหาด้วยการตั้ง กฎกติกาในการอยู่ร่วมกัน แต่มีชาวบ้านนอกพื้นที่เข้ามาทำประมงโดยไม่เคารพกฎกติกาของชุมชน และยังมีลักลอบทำประมงเครื่องมือผิดกฎหมาย กลุ่มชาวประมงร้องเรียนไปยังหน่วยงานราชการ แต่ไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา ขณะที่ชาวประมงบางส่วนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน พัฒนาเครื่องมือ ประมงเพื่อให้จับสัตว์น้ำได้ปริมาณมาก ผู้นำชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช สัตว์น้ำลดปริมาณลง เพราะการใช้เครื่องมือ ทันสมัยมากขึ้น ปัจจุบันปัญหาในพื้นที่น้อยลง เพาะชาวประมงช่วยกันทำกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ เป็นการจัดการของชุมชน เช่น การทำบ้านปลา ธนาคารปูม้า อาชีพเสริมในการซ่อมแซมเรือ ส่วนผู้นำชุมชนจังหวัดสงขลา เห็นว่า สัตว์น้ำลดลง ต่อมาได้รับการสนับสนุนสัตว์น้ำ จากกรมประมงทำให้มีสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น แต่ปัญหาคือ ชาวบ้านจับสัตว์น้ำขนาดเล็กยังไม่โตเติมวัยไปด้วย ทางแก้ปัญหาก็คือ รวมกลุ่มกันดูแลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งด้วยกันได้รับสนับสนุนงบประมาณ จากกรมประมงจำนวน 30,000 บาท ในการวางซั้งและมีสัตว์น้ำจำนวนมากเข้ามาอาศัยและเป็น แหล่งอนุบาล ผู้นำชุมชนจังหวัดปัตตานี เห็นว่า กฎหมายพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 กำหนดว่าประมงพื้นบ้านห้ามทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง เกิน 3 ไมล์ทะเล อาจทำให้ไปทับ ภูมิปัญญาและวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวประมง เมื่อชาวประมงออกไปทำการประมงนั้นจะไม่มีขอบเขต ไมล์ทะเล อีกปัญหาก็คือ การใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย ทำให้สัตว์น้ำลดลง ทางแก้ต้องเร่ง สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และทำกิจกรรมฟื้นฟูสร้างบ้านปลา ประเด็นข้อ 2 ปัจจุบันนี้ผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านทางทะเล จำเป็นต้อง พัฒนาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพประมงอย่างไร ผู้นำชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ยังขาดงบประมาณที่สนับสนุนการทำ ซั้งกอ กับบ้านปลา ทำให้สัตว์น้ำมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และเป็นประโยชน์กับคนทุกกลุ่ม ในช่วงสถานการณ์ โควิด 19 กลุ่มชาวประมงมิได้รอความช่วยเหลือจากหน่วยงานแต่เพียงอย่างเดียว ชุมชนชาวประมง ตั้งแพรับซื้อผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำจากชาวประมงนำมาแปรรูป เช่น กะปิ กุ้งแห้ง เพื่อส่งเสริมรายได้ให้กับ สมาชิกในกลุ่ม แต่มีปัญหาเรื่องการจัดหาตลาดขายสินค้า ซึ่งที่ผ่านมากลุ่มชาวประมงพื้นบ้าน ยังไม่ได้ รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น ต้องการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาสนับสนุนงบประมาณ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3