การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
3 ประชาชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากการมีส่วนร่วมของประชาชนถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญในระบอบ ประชาธิปไตย ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสมบัติร่วมกันของมวลมนุษยชาติ เมื่อใดที่ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง ย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชน อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แม้ว่าผู้นั้น จะมิได้เป็นผู้ก่อให้เกิดปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ ก็ตาม ดังนั้น การมีส่วนร่วมของประชาชน จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ประชาชนได้ร่วมปฏิบัติ เรียนรู้ และเข้าใจในวิถีทางแห่งประชาธิปไตย ที่แท้จริง อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนหวงแหน และรู้ถึงคุณค่าของทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น (ธัญญา เนติธรรมกุล, 2561) บทบัญญัติเรื่องสิทธิชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการ จัดสรรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีปรากฏอยู่ 2 ส่วน ส่วนแรก คือ บทบัญญัติในหมวด 3 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 43 โดยบัญญัติให้บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ จัดการ บำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างสมดุลและยั่งยืนโดยจะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือรัฐในการดำเนินการด้วยก็ได้ ส่วน ที่สอง บัญญัติไว้ในหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 57 (2) รัฐมีหน้าที่อนุรักษ์ คุ้มครอง บำรุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการ และใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และ ความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน โดยต้องให้ประชาชนและชุมชน ในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินการและได้รับประโยชน์จากการดำเนินการดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตามการจัดสรรทรัพยากร มิใช่แต่เพียงเป็นบทบาทหน้าที่รัฐหรือชุมชน แต่เพียงอย่างเดียว เท่านั้น บทบัญญัติรัฐธรรมนูญในหมวด 4 มาตรา 50 ได้บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ทุกคนด้วยที่จะต้องร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและ ความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรเกิดความยั่งยืน กรณีดังกล่าวสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ที่มุ่งสู่เป้าหมายให้ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง” มีการกำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานสังคมสีเขียว จัดการทรัพยากร บริหารจัดการไม่ให้เกิดความขัดแย้ง สร้างกลไกการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน การสร้างเศรษฐกิจภาคทะเลที่ยั่งยืน เพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจฐานชีวภาพทางทะเล ฟื้นฟูทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่งทั้งหมดอย่างบูรณาการ อีกทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ก็เป็นอีกหนึ่งแผนสำคัญที่จัดทำบนพื้นฐานของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ได้กล่าวถึงในยุทธศาสตร์หลักที่ 4 “การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน” เพื่อสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รักษาฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติ ปกป้องทรัพยากรทางทะเล ลดความขัดแย้งเชิงนโยบายระหว่างการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยว การประมง และวิถีชีวิตของชุมชน โดยจำแนกแนวเขตการใช้ ประโยชน์ในพื้นที่ทะเลและชายฝั่งที่ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ตัดสินใจ และจัดการร่วม ของภาคีที่เกี่ยวข้อง กำหนดมาตรการควบคุมการจับสัตว์น้ำ ห้ามการจับสัตว์น้ำวัยอ่อน ควบคุม เครื่องมือทำการประมงที่ผิดกฎหมาย คุ้มครองประมงพื้นบ้าน สร้างสมดุลของการอนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ โดยคำนึงถึงขีดจำกัดและศักยภาพในการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2561)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3