การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

139 ส่วนตำบลท่าศาลา เพื่อกำหนดไว้ในแผน และผลักดันไปยังสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา แล้ว ผู้นำชุมชนเป็นผู้ที่เข้าไปมีบทบาทร่วมกับเครือข่ายชาวประมงที่ร่วมออกแบบ และข้อบัญญัติ ท้องถิ่นจะต้องไม่ขัดกับกฎหมายของท้องถิ่นด้วย โดยจะต้องมีความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ หากกรณีมีการจับกุมเรือประมงผิดกฎหมายเพื่อหากฎกติกาข้อตกลงร่วมกัน และมีอัตราโทษปรับ ไม่สูงมากนัก แต่ส่วนใหญ่จะไม่กล้าทำผิดเนื่องจากจะต้องถูกกักเรือไว้นานทำให้สูญเสียรายได้ หลังจากการบังคับใช้ข้อบัญญัติท้องถิ่นดังกล่าว ได้รับความร่วมมือจากชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ ยินยอมปฏิบัติตาม ไม่ใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย ทำให้ปัญหาความขัดแย้งลดลง ผู้นำชุมชนจังหวัดสงขลา เห็นด้วย เพราะกฎกติกาเป็นข้อตกลงร่วมกันของชาวบ้าน จากตัวอย่างที่เกิดขึ้น เรื่องการกำหนดเขตอนุรักษ์ แต่ยังติดปัญหาชาวบ้านไม่เห็นด้วยเกรงว่า หากทำแนวเขตอนุรักษ์แล้วจะถูกกำหนดเป็นเขตหวงห้าม ไม่สามารถเข้าไปทำการประมงในพื้นที่ ดังกล่าวได้ แต่เมื่อทำความเข้าใจกับชาวบ้านว่าเขตอนุรักษ์เป็นเขตพื้นที่ที่ชาวบ้านและคนในชุมชน ตกลงกันเอง โดยทำแนวเขตอนุรักษ์หน้าชุมชนของตนเอง ออกจากชายฝั่งไปประมาณ 500 เมตร กว้างประมาณ 1,000 เมตร ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 6 และ 7 นอกเขตดังกล่าวชาวประมงทั่วไป สามารถทำการประมงได้ และได้กำหนดไว้เกี่ยวกับกระทำผิดในกฎกติกาชุมชน หากทำผิดครั้งแรก จะมีการตักเตือน ครั้งที่สองปรับ ครั้งที่สามตรวจยึด ในระยะแรกชาวประมงจากต่างพื้นที่ยังไม่ทราบ ได้เข้ามาทำการประมง แต่ชาวบ้านในพื้นที่มีความเข้มแข็ง ออกดูแล มีการตักเตือนและลงบันทึก จำนวน 2 ครั้ง การทำแนวเขตอนุรักษ์จะมีกำหนดระยะเวลา เช่น ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึง ปลายเดือนกันยายน ถึงต้นเดือนตุลาคม หลังจากนั้นจะมีการเปิดเขตอนุรักษ์ หลังจากประสบ ความสำเร็จในการกำหนดแนวเขต ทำซั้ง และปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำแล้ว เห็นผลได้ชัดเจนมีสัตว์น้ำเข้ามา อาศัยมากขึ้น เมื่อกลุ่มอนุรักษ์มีความเข้มแข็งมากขึ้น ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ปตท. ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ชาวบ้านให้ความร่วมมือและช่วยกันดูแล และมีการขยายความรู้ไปยังกลุ่มอื่น ๆ ในพื้นที่ใกล้เคียง ทำให้ในพื้นที่ไม่มีความขัดแย้งพื้นที่เหมือนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่ก็ยังพบปัญหา เมื่อปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำไปแล้ว สัตว์น้ำจะเคลื่อนที่ออกไปหากินนอกเขต หากชาวประมงใช้อวนตาถี่ ทำการประมงจะติดสัตว์น้ำขนาดเล็กไปด้วย โดยเฉพาะปู จึงมีการวางกฎกติกาเพิ่มเ ติมจะไม่มี การรับซื้อ และห้ามจำหน่ายปูขนาดเล็กในตลาดประชารัฐบ้านพังสายซึ่งทำได้เฉพาะในพื้นที่เท่านั้น แต่พบปัญหาคนจากนอกพื้นที่เข้ามาทำการประมงนอกเขตและจับปูขนาดเล็กไปจำหน่ายที่อื่น ขณะที่ผู้นำชุมชนจังหวัดปัตตานี เห็นด้วยกับการตั้งกฎกติกา ในพื้นที่อำเภอ ปะนาเระ กำหนดแนวเขตอนุรักษ์ วางซั้งบ้านปลา และตั้งกฎกติกาชุมชนในการห้ามทำการประมง ในเขตอนุรักษ์ด้วยเครื่องมือทุกชนิด โทษจะเป็นการตักเตือนแต่หากกระทำผิดซ้ำจะมีการปรับ ประมาณ 2,000 บาท และทุกวันศุกร์จะห้ามออกทำการประมง หากฝ่าฝืนมีอัตราโทษปรับ 300 บาท เงินค่าปรับจะมอบให้มัสยิด หลังจากมีการประกาศใช้กฎกติกาดังกล่าวสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือจำนวน สัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น แต่ยังพบมีการละเมิด จึงตรวจยึดสัตว์น้ำและเครื่องมือทำการประมง หากต้องการ เครื่องมือทำการประมงคืนก็จะต้องมาชำระค่าปรับ 2,000 บาท เนื่องจากด้วยบริบทสภาพพื้นที่ เป็นทะเลเปิดฝั่งอ่าวไทย มิได้อยู่ในอ่าวปัตตานี จึงไม่มีปัญหาเครื่องมือประมงผิดกฎหมาย เช่น ลอบพับชาวประมงบางส่วนที่ยังมีจิตใจด้านการอนุรักษ์มีการรวมตัวกันตั้งเป็นกลุ่มองค์กร เพื่อรักษา ทรัพยากรหน้าบ้านของตนเอง เช่น อำเภอปะนาเระ หรืออำเภอยะหริ่ง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3