การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
140 ประเด็นข้อ 4 ปัจจุบันนี้มีหน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชนใดบ้างที่เข้ามา ช่วยเหลือหรือสนับสนุนเกี่ยวกับการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านทะเลอย่างไร ผู้นำชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เห็นว่า มีกลุ่มประมงพื้นบ้านขึ้นทะเบียนไว้ 2 ประเภท คือการขึ้นทะเบียนชุมชนชายฝั่งกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กับกลุ่มที่ขึ้นทะเบียนเป็น องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นของกรมประมง ทั้งสองกลุ่มจะได้รับงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐและ ภาคเอกชน เพื่อโครงการฟื้นฟูทรัพยากรโดยการทำซั้งบ้านปลาทุกปี ผู้นำชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ได้รับการสนับสนุนเครื่องมือประมง ในลักษณะการผ่อนชำระกับกลุ่มออมทรัพย์ มีการพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้ามา เรียนรู้วิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน การเพาะฟักลูกปูม้า และทำกิจกรรมคืนปูม้าสู่ทะเลไทย เมื่อชาวประมง ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทำให้เริ่มเป็นที่รู้จักจากหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรต่าง ๆ มากขึ้น และได้รับ การสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีการพัฒนาต่อยอดเป็นร้านอาหารชุมชนซึ่งอยู่ระหว่าง การดำเนินการยังไม่แล้วเสร็จเนื่องจากยังขาดงบประมาณบางส่วน ปัจจุบันมีหน่วยงานที่ช่วย สนับสนุนชุมชนมากขึ้น ทั้งสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่ง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล และบริษัท ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยกันทำให้ทะเลมีสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น และชุมชนได้ออกแบบเป็นข้อบัญญัติ ท้องถิ่นเพื่อบูรณาการร่วมกัน ผู้นำชุมชนจังหวัดสงขลา และ ผู้นำชุมชนจังหวัดปัตตานี ได้รับการสนับสนุนจาก หน่วยงานภาครัฐต่อเมื่อได้ขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นของกรมประมง และชุมชน ชายฝั่งของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแล้ว โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง และบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) รวมประมาณปีละ 30,000-40,000 บาท ส่วนการทำโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ชุมชนเป็นผู้คิด กำหนด ออกแบบเอง ทั้งหมด เพราะชุมชนจะรู้จักพื้นที่ของตนเอง ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหาร ส่วนตำบลกระดังงา จะเข้ามาร่วมกิจกรรมกับกลุ่มแต่จะไม่มีงบประมาณสนับสนุน เสนอให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดแผนให้มีการฟื้นฟูทรัพยากรในทะเล ทุกมิติ ประเด็นข้อ 5 ชุมชนท้องถิ่นควรมีบทบาทหรือมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร ประมงพื้นบ้านทางทะเลอย่างไร ผู้นำชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เห็นว่า การรวมตัวกันของชุมชนท้องถิ่นจัดตั้งกองทุน โดยให้ชาวประมงพื้นบ้านเข้ามาร่วมออมเงิน หากกรณีเครื่องยนต์เรือเสีย และจะนำเรือขึ้นคาน ซ่อมบำรุง หรือเปลี่ยนเครื่องมือประมง ชาวประมงก็สามารถมากู้ยืมเงินได้ตามระเบียบและกติกาของ กองทุน ที่มีการตั้งกลุ่มออมทรัพย์ให้ชาวประมงพื้นบ้านที่เดือดร้อนสามารถกู้ยืมเงินไปซื้อเครื่องมือ ประมงได้ และได้รับเงินทุนสนับสนุนจากภาคเอกชน โดยมูลนิธิป่าทะเลเพื่อชีวิตจากกองทุน สิ่งแวดล้อม ผู้นำชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้นำชุมชนจังหวัดสงขลา ผู้นำชุมชนจังหวัดปัตตานี เห็นแนวทางเดียวกันว่า ชุมชนท้องถิ่น มีบทบาทอย่างมากเนื่องจากเป็นผู้ใช้ทรัพยากรโดยตรงจากการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3