การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
144 2. ประเด็นคำถามการระดมความคิดเห็นด้วยการสนทนากลุ่มเจาะจง การระดมความคิดเห็นด้วยการสนทนากลุ่มเจาะจง ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ตามระเบียบวิธีวิจัย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในจังหวัดสงขลา และจังหวัดนครศรีธรรมราช มีคำถาม 3 ประเด็น และผลการ ระดมความคิดเห็นมีคำตอบ ดังนี้ 1. หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ควรมีบทบาทหน้าที่ต่อการจัดการทรัพยากรประมง พื้นบ้านทางทะเลในปัจจุบันและอนาคต ควรจัดให้มีรูปแบบอย่างไร ผลการสนทนา พบว่า ภาครัฐและเอกชนมีการสนับสนุนช่วยกันขับเคลื่อนกลุ่มอนุรักษ์ ให้ชุมชนจัดการในพื้นที่หน้าบ้านของตนเอง โดยใช้แนวคิดที่ว่า “หน้าบ้านใครหน้าบ้านมันช่วยกัน ดูแล” กำหนดกฎกติกาข้อตกลงของชุมชน ตั้งเป้าหมายว่าต้องมีการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ความเข้มแข็งของกลุ่มเกิดจากคนในชุมชนเป็นหลักในการขับเคลื่อนและมีส่วนร่วม เรียกได้ว่าเป็นการ จัดรูปแบบที่เป็นเชิงช่วยการอนุรักษ์ในทะเลแตกต่างการอนุรักษ์บนบก ยกตัวอย่างเช่น การอนุรักษ์ โดยการปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียว ต้นไม้ก็จะเจริญเติบโตต่อไปได้ แต่สำหรับการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ หากไม่มีการกำหนดพื้นที่อนุรักษ์ หรือปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มเติม สัตว์น้ำก็จะถูกจับไปใช้ประโยชน์จน หมด ส่วนสำคัญจะต้องทำให้ชาวบ้านมีความเข้มแข็งและได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากชาวบ้านที่ทำกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ทำด้วยจิตอาสาไม่ได้รับค่าตอบแทน จึงจำ เป็นที่จะ ส่งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่ม และเริ่มคิดต่อยอดเพื่อพัฒนาสู่การท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตของ ชาวบ้านในพื้นที่ หลังจากที่มีการตั้งกฎกติกาข้อตกลงของชุมชน กำหนดเขตอนุรักษ์เป็นแหล่งอนุบาล สัตว์น้ำวัยอ่อน และปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มเติม ทำให้สัตว์น้ำขนาดใหญ่เข้ามาหากินบริเวณใกล้เคียงที่ มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น เกิดเป็นวงจรระบบนิเวศในทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่รวมกลุ่มกัน จดทะเบียนชุมชนชายฝั่งเพื่อรับงบประมาณสนับสนุนจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อีกทั้งยังมีบางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้ามาสนับสนับสนุนงบประมาณ อย่างไรก็ตามมีอีกหลาย พื้นที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่เข้ามาสนับสนุนมากนัก เนื่องจากมีปัญหาทางการเมือง แต่หากชุมชนมีการดำเนินการที่ประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจเข้ามา สนับสนุนได้ ดังนั้นแล้วการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทสำคัญ เป็นแนวทางที่ดีมาก หากมีชาวบ้านรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มใหม่แล้วให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาขับเคลื่อนและ สนับสนุน หากเป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นก่อนแล้วแล้วองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่งยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ อาจถูกมองว่าเป็นเพียงการสร้างภาพเท่านั้น และกรมประมงยังมีการสนับสนุนให้ชาวบ้านในพื้นที่ รวมกลุ่มกันจดทะเบียนเป็นองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น เพื่อรับงบประมาณสนับสนุนจากกรมประมง เช่นเดียวกัน สำหรับงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อมีการอนุมัติงบประมาณ สนับสนุนไปแล้วจะมีการประเมินผล และถูกตรวจสอบเรื่องต่าง ๆ เช่น หากมีการจัดซื้อไม้ไผ่หรือ ทางมะพร้าว ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ในการจัดทำแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน แต่เนื่องจากเป็นวัสดุ ที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ การตรวจสอบจึงเป็นไปค่อนข้างยาก แตกต่างจากวัสดุที่คงทนถาวร เช่น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3