การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

145 เสา หรือแท่งปูนที่อาจตรวจสอบได้ แต่หากถูกขโมยก็จะเป็นปัญหากับหน่วยงานที่จะต้อง ถูกตรวจสอบ หรือหากสนับสนุนงบประมาณไปแล้วจะสามารถทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจริงหรือไม่ บทบาทอำนาจหน้าที่ หากมีการกระจายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ ช่วยเหลือ คุ้มครองทรัพยากรประมงอย่างจริงจังและชัดเจน จะทำให้การขอสนับสนุนงบประมาณ สะดวกมากขึ้น โดยหลักการใช้งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล ประเด็นสำคัญจะต้องอยู่ ภายใต้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย หากมีการตั้งงบประมาณเบิกจ่ายโดยไม่มีอำนาจหน้าที่ อาจถูกตรวจสอบจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานป้องกันปราบปรามการทุจริต หรือ ถูกตั้งคณะกรรมการดำเนินการทางวินัย แม้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในพื้นที่ก็ตาม อีกทั้ง อำนาจหน้าที่ดังกล่าวต้องไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น หากเป็นการส่งเสริมการประกอบอาชีพ ให้ความรู้ กระทำได้ ซึ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญกลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความกังวลเรื่อง การสนับสนุนงบประมาณปกติ จึงเสนอให้ปรับเปลี่ยนโดยของบประมาณเฉพาะกิจจากรัฐบาล มาสนับสนุนแทน ซึ่งสามารถทำได้ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ประเด็นเรื่องการออกข้อบัญญัติ เห็นว่า แต่ละแห่งมีสภาพและบริบทแตกต่างกัน การออกข้อบัญญัติจึงต้องสอดคล้องกับสภาพบริบทของพื้นที่นั้น และดำเนินไปตามกระบวนการ ออกข้อบัญญัติ ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย สำหรับบทกำหนดโทษผู้ที่ฝ่าฝืน ข้อบัญญัติ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 กำหนดอัตรา โทษปรับไว้เพียง 1,000 บาท ซึ่งอัตราโทษปรับตามพระราชบัญญัติดังกล่าวบังคับใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ไม่สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องปรับแก้กฎหมายในส่วนนี้ การเพิ่มอัตราโทษปรับหรือกำหนดโทษอย่างอื่นเพิ่มเติม ย่อมส่งผลให้ผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม เกิดความเกรงกลัวไม่กล้ากระทำความผิด โดยอาจพิจารณาโทษเพิ่มเติม ให้ปรับ 5 เท่าของมูลค่า สัตว์น้ำที่จับมาได้จากการกระทำฝ่าฝืนกฎหมาย แล้วแต่อย่างหนึ่ งอย่างใดสูงกว่า ซึ่งทุกกลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญล้วนเห็นตรงกันเรื่องอัตราโทษปรับ ที่ควรกำหนดให้สูงเพื่อป้องปรามการกระทำ ความผิด ประเด็นเรื่อง อัตราโทษปรับที่เกิดขึ้นจากการฝ่าฝืนข้อบัญญัติท้องถิ่น ไม่ควร ตกเป็นรายได้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด ควรมีการสร้างกลไกให้เงินดังกล่าวเข้าสู่กองทุน เป็นรายได้ในการจัดการของกลุ่มอนุรักษ์แต่ละแห่ง ควรระบุวัตถุประสงค์การใช้เงินค่าปรับให้ชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความเห็นว่า ข้อบัญญัติที่ถูกพัฒนามาจากกฎกติกาข้อตกลงชุมชน หากเงิน ค่าปรับเป็นรายได้กลับคืนสู่ชุมชน ให้ชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการถือเป็นสิ่งที่ดี แต่การออกข้อบัญญัติ ซึ่งอาศัยอำนาจตามกฎหมายของท้องถิ่น มีการกำหนดให้ค่าปรับที่ได้ต้องถูกนำส่งเป็นรายได้ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากต้องการให้เงินค่าปรับส่วนนี้เป็นรายได้ให้กลับคืนสู่ชุมชน จะต้อง พิจารณาปรับแก้กฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องอีกส่วนหนึ่งด้วย มีข้อกังวลเรื่องกฎกติกาข้อตกลงชุมชน หากกระจายอำนาจแก่องค์กรปกค รอง ส่วนท้องถิ่น โดยให้นักการเมืองเข้ามามีบทบาทมากเกินไป อาจมีปัญหาเรื่องผลประโยชน์หรือ ต้องการรักษาฐานคะแนนเสียงของฝ่ายตนเอง กรณีมีผู้ฝ่าฝืนกฎกติกาอาจมีการใช้อำนาจต่อรอง หรือ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3