การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
146 ใช้ความสัมพันธ์เครือญาติ โดยไม่มีการลงโทษ จะทำให้กฎกติกาข้อตกลงชุมชนที่ดำเนินการ อย่างเข้มแข็งมาตลอด ไม่สามารถบังคับใช้ได้จริง และสูญสิ้นไปในที่สุด แม้บางกลุ่มองค์กรชุมชน ที่มีความเข้มแข็งมาก แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ได้เข้ามาร่วมตั้งแต่เริ่มต้น จึงเป็นการยาก ที่จะผลักดันให้เกิดเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ปัจจัยสำคัญคือทุกฝ่ายจะต้องเห็นร่วมกันและต้องการ พัฒนาเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ดังนั้น การออกข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ประสบผลสำเร็จได้นั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้น ผ่านการประชุม แลกเปลี่ยน ให้ความรู้จึงจะเกิดการพัฒนาร่วมกันได้ซึ่งแนวความคิดในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นต้องเกิดจาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง เป็นผู้ร่วมมือร่วมใจและผลักดันให้เกิดขึ้น การแก้ไขกฎหมาย มิใช่ปัญหา แต่แก้กฎหมายแล้วชุมชนต้องได้ประโยชน์ 2. อาชีพประมงพื้นบ้านควรจัดการอย่างไรให้มีความยั่งยืน ผลการสนทนา พบว่า กลุ่มผู้นำชุมชนและผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน เห็นว่า การทำอาชีพประมงอย่างไรให้ยั่งยืน ควรต้องมีการการจัดตั้งกลุ่มและทำแนวเขตอนุรักษ์ในทะเล เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนสำหรับนอกเขตอนุรักษ์ บางพื้นที่อาจมีการจับจองเป็น สิทธิของปัจเจกบุคคล ซึ่งนอกพื้นที่ดังกล่าวชาวบ้านทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์ได้ร่วมกัน การจัดทำ กฎกติกาของชุมชน หากพบว่ามีการละเมิดลักลอบเข้าไปทำการประมงในแนวเขตอนุรักษ์บ้าง จากคนภายนอกชุมชน คณะกรรมการจึงเข้าไปดูแล ตักเตือน และจับผู้ที่ฝ่าฝืน แต่การกระทำดังกล่าว ยังไม่มีกฎหมายรองรับให้ชาวบ้านสามารถกระทำได้ เป็นเพียงกฎกติกาที่ชุมชนเป็นคนกำหนดขึ้น ควรจะให้ออกเป็นข้อบัญญัติเพื่อเป็นกฎหมายรองรับ การตั้งกฎกติกาของชุมชนผ่านการระดม ความคิดเห็นจากโต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิด คณะกรรมการกลุ่ม และชาวบ้านในพื้นที่ โดยห้าม ทำการประมงทุกชนิดบริเวณเขตอนุรักษ์ หากมีผู้ฝ่าฝืนลักลอบเข้ามาทำการประมง ครั้งแรกตักเตือน ครั้งที่สอง กรณีเป็นชาวบ้านทั่วไปปรับ 2,000-3,000 บาท แต่หากผู้ที่ฝ่าฝืนเป็นประธานกลุ่ม ปรับ 20,000 บาท หรือคณะกรรมการกลุ่ม ปรับ 15,000 บาท และยึดเครื่องมือทำการประมง หลังจากที่มีการจัดทำแนวเขตอนุรักษ์อย่างจริงจังจึงทำให้ปลากดขี้ลิง ซึ่งเป็นปลาที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ในทะเลสาบสงขลา เข้ามาอาศัยในแนวเขตอนุรักษ์เป็นจำนวนมาก ซึ่งบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงรอบ ทะเลสาบสงขลา มีการรวมกลุ่มของชาวประมงพื้นบ้านหลายกลุ่ม แยกไปแต่ละหมู่บ้าน การดำเนินการจึงเป็นไปในลักษณะดูแลรักษาหน้าชุมชนของตนเอง หน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุน งบประมาณบ้าง ที่ผ่านมายังไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโดยตรงจากองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ส่วนใหญ่จะเป็นไปในลักษณะการสนับสนุนส่วนตัวมากกว่า ซึ่งกลุ่มผู้นำชุมชนและ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน มีความต้องการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาสนับสนุน เพิ่มเติมและรองรับกฎกติกาให้เป็นข้อบัญญัติใช้บังคับในท้องถิ่นต่อไป 3. การป้องกันการแย่งชิงพื้นที่ทำการประมง ควรมีรูปแบบการจัดการอย่างไร ผลการสนทนา พบว่า ควรพัฒนากฎกติการ่วมกันของกลุ่มประมงพื้นบ้านให้ทำงาน เชื่อมต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ การออกกฎหมายจะต้องไม่ถูกจำกัดเฉพาะจาก ส่วนกลางเท่านั้น สิ่งที่คนในชุมชนหรือคนในพื้นที่จะต้องพูดคุยเป็นผู้ออกแบบและตกลงร่วมกัน มีการศึกษาในบริบทของความขัดแย้ง และระดมความคิดเห็นจากส่วนต่าง ๆ ที่มีส่วนสำคัญในการ จัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านในพื้นที่ เพื่อสร้างข้อตกลงและกฎกติการ่วมกันในการใช้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3