การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

147 ทรัพยากรธรรมชาติ ผลักดันให้เกิดเป็นร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้าน ซึ่งในพื้นที่อำเภอท่าศาลาจังหวัดนครศรีธรรมราช มีข้อบัญญัติท้องถิ่นทางทะเลที่ประกาศใช้ เมื่อปี 2552 สำหรับร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นฉบับนี้จะเป็นร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ถูกออกแบบสำหรับ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วไปสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งกฎกติกาข้อตกลงของชุมชน ในพื้นที่จังหวัดสงขลา เป็นไปในลักษณะการกำหนดเขตเพื่อการอนุรักษ์ให้มีทรัพยากรมากขึ้นมากกว่า กฎกติกาข้อตกลงเพื่อการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรร่วมกัน 4. ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการร่างออกข้อบัญญัติท้องถิ่น 1. ประเด็นด้านอำนาจหน้าที่และของบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรระบุบทบาทอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร ช่วยเหลือ ดูแลผู้ทำประมงพื้นบ้าน อย่างไร เพื่อสะดวกต่อการขอสนับสนุนงบประมาณได้ง่ายขึ้น มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า หลักการเรื่อง ใช้งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล ต้องอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย หากมีการตั้ง งบประมาณเบิกจ่ายโดยไม่มีอำนาจหน้าที่อาจถูกตรวจสอบจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ ถูกตั้งคณะกรรมการดำเนินการทางวินัย หรือถูกตรวจสอบจากสำนักงานป้องกันปราบปรามการทุจริต แม้จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในพื้นที่ก็ตาม และการกำหนดอำนาจหน้าที่จะต้องไม่ซ้ำซ้อน กับหน่วยงานอื่น หากเป็นเรื่องการส่งเสริมการประกอบอาชีพ ให้ความรู้สามารถกระทำได้ แต่ก็มี พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 หากเปลี่ยนไปของบประมาณ เฉพาะกิจจากรัฐบาลมาสนับสนุนแทน ซึ่งสามารถทำได้ตาม ส่วนประเด็นการสนับสนุนงบประมาณ หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการ สนับสนุนงบประมาณเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง ส่วนใหญ่จะไม่มีการให้เงินโดยตรงกับ กลุ่มประมงพื้นบ้าน แต่จะสนับสนุนงบประมาณในลักษณะเป็นเงินอุดหนุนให้กับหน่วยงานของ กรมประมง เช่น ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสัตว์น้ำชายฝั่ง หรือศูนย์วิจัยและ พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสงขลา เป็นผู้ผลิตลูกพันธุ์สัตว์น้ำ 2. ประเด็นการกระจายอำนาจเรื่องการจัดการทรัพยากรประมง ไปยังองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นปัจจุบันยังไม่ชัดเจนเป็นรูปธรรมมากนัก แม้มีกฎหมายหลายฉบับ เช่น รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดเกณฑ์กลางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการดูแล ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของตนเอง เปิดช่องให้ทำได้แต่ผู้นำชุมชนท้องถิ่นกั บ บางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งแตกต่างกันไป มีผลต่อการขับเคลื่อนดูแลจัดการ ด้านทรัพยากรประมง หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาร่วมจัดการ ด้วยการออกข้อบัญญัติ ที่มีลักษณะเป็นกฎหมายกลางเพื่อเป็นแนวทางนำไปต่อยอดในการจัดการทรัพยากรประมง ให้เห็น เป็นรูปธรรมชัดเจนยิ่งขึ้น กระบวนการออกข้อบัญญัติ ควรมีการรับฟังความคิดเห็น และให้มีอำนาจ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ กับกรมประมงและกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ประกาศเขตอนุรักษ์ เรื่องทำการประมงในพื้นที่นั้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3