การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

4 ในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562-2566) ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศ สมาชิกขององค์การสหประชาชาติที่เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนทำให้ เกิดพันธะผูกพันในการปฏิบัติตาม โดยเป็นแนวทาง เครื่องมือสำคัญที่องคกรเครือข่ายสิทธิมนุษยชน จะต้องนําไปใชปฏิบัติในการสงเสริม ปกปอง คุมครองสิทธิมนุษยชนใหแกประชาชน เพื่อใหสามารถ เข้าถึงสิทธิอันจะพึงได้รับในแต่ละเรื่องอย่างเทาเทียมกัน เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี ใหเกิดแก ประชาชนเพิ่มความเขมแข็งตามหลักนิติรัฐ และสรางรากฐานที่เขมแข็งใหกับสังคมไทย อันจะนําไปสู่ การบรรลุเป้าหมายในการทำใหสังคมไทย “เป็นสังคมที่สงเสริมสิทธิ เสรีภาพ และความเทาเทียม โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนอย่างบูรณาการทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม เพื่อนําไปสู่สังคมที่พัฒนาอย่างยั่งยืน ” สำหรับแผนสิทธิมนุษยชน ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มีข้อเสนอแนะให้เน้นการพัฒนาที่สอดคล้องกับเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน ที่สร้างความสมดุลระหว่างการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับและแนวทาง ที่เหมาะสมเพื่อขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของประเทศ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศอย่างยั่งยืน และแผนสิทธิมนุษยชนด้านสิทธิชุมชน วัฒนธรรม และศาสนา มีข้อเสนอแนะให้สงเสริมบทบาทขององคกรปกครองทองถิ่นและชุมชนในพื้นที่ ในการมีสวนร่วม ออกมาตรการเฝ้าระวัง บำรุงรักษาสิ่งแวดลอม รวมถึงสงเสริมใหมีการจัดทำ กลไกไกลเกลี่ยในระดับชุมชนเพื่อรองรับการเจรจาข้อพิพาทที่เกี่ยวของกับนโยบายรัฐที่อาจ ส่งผลกระทบต่อชุมชน (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ , 2561) จะเห็นได้ว่าทั้งรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) และแผนสิทธิมนุษยชนแหงชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562-2566) ต่างก็ให้ความสำคัญกับชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดความยั่งยืน สำหรับเป้าหมายการพัฒนาการประมงภายใต้วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน พ.ศ. 2573 ปรากฏ ในเป้าหมายที่ 14 ชีวิตใต้น้ำ (Life below water) มุ่งเน้นให้มีการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Conserve and sustainably use the oceans, seas and marine resources for sustainable development) ภ า ย ใ น ปี พ.ศ. 2573 เช่น เป้าประสงค์ 14.b ชาวประมงพื้นบ้านขนาดเล็กสามารถเข้าถึงทรัพยากรทางทะเล และตลาด (Provide access for small – scale artisanal fishers to marine resources and markets) มีตัวชี้วัด 14.b.1 คือ ความก้าวหน้าของประเทศต่าง ๆ ในการบังคับใช้กฎหมาย ข้อบังคับ นโยบาย และกรอบการดำเนินงานของหน่วยงานที่ตระหนักและปกป้องสิทธิการเข้าถึงสำหรับ ก ารท ำก ารป ระม งขน าด เล็ก (Progress by countries in the degree of application of a legal/regulatory/ policy/institutional framework which recognizes and protects access rights for small – scale fisheries) (ณัฐรียา เกียรติไพบูลย์ (ออนไลน์), 2560) ในส่วนของพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 มีการกำหนดให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้ความช่วยเหลือเพื่อส่งเสริม การมีส่วนร่วมและสนับสนุน ให้คำปรึกษา เผยแพร่ความรู้ข้อมูลข่าวสาร หรือเรื่องอื่น ๆ แก่ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการ การปลูก การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งความช่วยเหลือและสนับสนุน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3