การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

148 3. ประเด็นบทลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายข้อบัญญัติท้องถิ่นทั่ว ไปที่ให้อำนาจ องค์การบริหารส่วนตำบลในการข้อบัญญัติทั่วไปในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. 2537 กำหนดอัตราโทษปรับไว้เพียง 1,000 บาท ควรจะต้องปรับแก้อัตราโทษปรับ หรือโทษอย่างอื่นเพิ่มเติมเป็น 3,000 บาท เนื่องจากอัตราโทษปรับตามพระราชบัญญัติดังกล่าวบังคับ ใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ยังไม่ได้มีการปรับแก้อัตราโทษ ทำให้มีผู้ฝ่าฝืนไม่เกรงกลัวโทษปรับ ควรปรับแก้อัตราโทษหากพบว่ามีผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการทำประมงพื้นบ้านที่ผิดกฎหมาย เช่น เข้าไปในเขตพื้นที่อนุรักษ์ และใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย ควรพิจารณาให้โทษปรับเพิ่มเติม ขึ้นเป็น 5 เท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่จับได้ แล้วแต่อย่างหนึ่งอย่างใดสูงกว่าเพื่อป้องปรามการกระทำ ความผิด เงินค่าปรับที่ได้มา ไม่ควรเข้าไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ให้จัดตั้งกองทุนไว้ รับเป็นเงินค่าปรับของกลุ่ม เพื่อใช้ในการบริหารจัดการ ดูแลให้เกิดประโยชน์ ระบุให้ชัดเจนว่าค่าปรับ ที่ได้จะนำไปบริหารจัดการอย่างไร เพื่อให้เกิดความชัดเจนตามวัตถุประสงค์ มีข้อสังเกตว่า แต่หากมี การออกเป็นข้อบัญญัติซึ่งอาศัยอำนาจตามกฎหมายของท้องถิ่น อาจไปขัดกับกฎหมายของท้องถิ่น ซึ่งกำหนดให้ค่าปรับที่ได้จากข้อบัญญัติดังกล่าวจะต้องถูกส่งเข้ารายได้ให้กับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น หากต้องการให้ค่าปรับส่วนนี้เป็นรายได้ให้กับกลุ่ม จะต้องมีการพิจารณาปรับแก้ กฎหมายระดับพระราชบัญญัติอีกครั้ง 4. ประเด็นให้มีชุดคณะกรรมการข้อบัญญัติท้องถิ่น องค์ประกอบของคณะกรรมการ และสมาชิก ควรมาจากหลายภาคส่วน เชิญหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นเอกเทศให้แตกต่างกัน ออกไปให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการข้อบัญญัติท้องถิ่น เช่น สมาชิกสภา (เทศบาล/องค์การบริหาร ส่วนตำบล) ผู้แทนหมู่บ้านอยู่ติดชายทะเลหมู่บ้านละ 1 คน เป็นกรรมการ หากมีหมู่บ้านที่อยู่ติด ชายทะเลหลายหมู่บ้าน ควรใช้วิธีเลือกตัวแทนหมู่บ้าน ระควรระบุจำนวนคณะกรรมการกี่คน เพื่อเน้น ความสะดวกในการทำงาน จะทำให้สัดส่วนของกรรมการไม่มากเกินไป เช่น การเรียกประชุม อาจเกิด ความยุ่งยาก เสนอให้ใช้วิธีเลือกตัวแทนหมู่บ้านเป็นกรรมการรวมอยู่ด้วย ควรกำหนดวาระการดำรง อยู่ของคณะกรรมการ ให้สับเปลี่ยนหมุนเวียนไปตามวาระการดำรงตำแหน่ง เพื่อเปิดโอกาสให้ ประชาชนทุกกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วมอย่างหลากหลาย จะเป็นประโยชน์มากกว่า 5. ประเด็นเรื่องจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ทำประมงพื้นบ้านที่ประสบปัญหา ด้านรายได้ หรือสนับสนุนด้านการสร้างอาชีพให้กับผู้ทำประมงโดยไม่ต้องไปกู้เงินจากนายทุนหรือ แหล่งเงินกู้เพื่อนำมาใช้หมุนเวียนทำประมง และ เงินรายได้ในการบริหารงานกองทุนส่วนหนึ่งมาจาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากต้องการให้คณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้าน ทางทะเล มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารกองทุน ให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก แต่เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจป้องกันมิให้มีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน การลงมติพิจารณาเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุน ควรใช้คะแนนเสียง 3 ใน 4 ของคณะกรรมการทั้งหมด ความเห็นชอบของคณะกรรมการควรเป็นมติพิเศษที่มิใช่การใช้คะแนนเสียงกึ่งหนึ่ง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3