การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
164 ข้อ (ร่าง) ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบ เรื่อง การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลอย่างยั่งยืน พ.ศ. …. ที่มาและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทางทะเล (5) ส่งเสริมและสนับสนุนให้จัดทำข้อตกลงชุมชนในการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุล และยั่งยืน โดยให้ประชาชนและชุมชนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ดำเนินการและได้รับประโยชน์จากการดำเนินการดังกล่าว 3. การจัดการประมง (เรืองไร โตกฤษณะ , 2548) เห็นว่ารัฐควรอาศัย การจัดการประมงเชิงชุมชน(Community Based Fishery Management) เข้ า ม า ช่ ว ย ใน ก า ร จั ด ก า ร โ ด ย รั ฐ มี บ ท บ า ท เป็ น ผู้ ร่ ว ม จั ด ก า ร (Co-Management) โดยให้สิทธิการทำประมงแก่ชุมชนประมงชายฝั่ง วิธีนี้ ช่วยลดปัญหาการขาดกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์สินร่วม ชาวประมงจะมีแรงจูงใจ ที่จะรักษาความสมบูรณ์ของทรัพยากรไว้ เพื่อให้ตนมีสัตว์น้ำไว้ใช้ได้ อย่างยั่งยืน สนใจที่จะทำประมงในลักษณะที่ไม่ทำลายความสมบู รณ์ ของทรัพยากร ชาวประมงซึ่งเป็นผู้มีความรู้ในภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับ ทรัพยากรประมงที่ตนใช้ประโยชน์ ซึ่งมีลักษณะการทำประมงโดยใช้ เครื่องมือประมงหลากชนิด (Multi species – multi gears) จึงเป็นการยาก ที่รัฐจะติดตามควบคุมได้ตลอด การให้สิทธิทำประมงแก่ชุมชน โดยให้ชุมชน บริหารจัดการการประมงในชุมชนของตน เปิดโอกาสให้ชาวประมงเข้ามา มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ วางแผน จัดการการประมง จะช่วยให้ชาวประมง ยอมรับและปฏิบัติตามข้อบังคับที่วางไว้มากขึ้น ลดความขัดแย้งเกี่ยวกับ การทำประมงในระดับชุมชนลง การติดตามและตรวจสอบในระดับชุมชน ทำได้สะดวกกว่าที่จะทำโดยรัฐซึ่งมีกำลังอยู่จำกัด อย่างไรก็ตาม ปัญหา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3