การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

6 ให้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น จะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนและประชาชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในก ารพัฒนาประ เทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถใช้กลไก ในพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 ซึ่งกำหนดภารกิจของสภาองค์กรชุมชนตำบลไว้ ในมาตรา 21 ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกองค์กรชุมชนร่วมมือกับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานของรัฐในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติที่จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืน เป็นผู้ที่จะเข้ามาจัดการ แก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่สาธารณประโยชน์ทางทะเล เพื่อบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรประมงให้เกิดความยั่งยืน แสวงหาความร่วมมือระหว่างคนทำประมงพื้นบ้าน ทั้งคนที่อยู่ ในชุมชนและคนจากภายนอกชุมชนที่เข้ามาทำการประมง ในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มิได้มีการกำหนดอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการ ทรัพยากรประมงไว้ แต่จะมีการกำหนดอำนาจหน้าที่ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติกำหนดแผนและ ขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 ให้เทศบาลจัดทำ บริการสาธารณะโดยการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เพื่อประโยชน์ในท้องถิ่นของตนเอง อีกทั้งตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 60 ได้ให้ อำนาจเทศบาลในการตราเทศบัญญัติเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ของเทศบาล หรือเมื่อมี กฎหมายบัญญัติให้เทศบาลตราเทศบัญญัติหรือให้มีอำนาจตราเทศบัญญัติอีกด้วย ซึ่งการจัดการพื้นที่ สาธารณประโยชน์ทางทะเลโดยผลักดันเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น สามารถก่อให้เกิดความยั่งยืนได้ ด้วยสภาพบริบทของแต่ละพื้นที่มีลักษณะแตกต่างกัน ทำให้เกิดปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งมีบางชุมชนได้ทำข้อตกลง กฎกติกาชุมชนในการจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นของตนเองร่วมกัน อย่างไรก็ตามข้อตกลง กฎกติกาดังกล่าวไม่มีสถานะเป็นกฎหมาย ทำให้ไม่สามารถบังคับใช้ กับคนภายนอกชุมชนได้ การจัดการพื้นที่สาธารณประโยชน์ทางทะเลเพื่อป้องกันมิให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ทางทะเลที่มีอยู่อย่างจำกัดเป็นสิ่งสำคัญ ในอนาคตหากยังไม่มีการจัดการทรัพยากรทะเลที่ดี และจริงจัง จะทำให้เกิดความเสื่อมโทรม ส่งผลให้ชาวประมงพื้นบ้านประสบปัญหาจับสัตว์น้ำลดลง มีรายได้น้อยลง คนที่มีอำนาจจะเข้าครอบครองพื้นที่ เกิดการซื้อขายสิทธิในพื้นที่สาธารณประโยชน์ ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านไม่สามารถทำการประมงในพื้นที่ดังกล่าวได้ และก่อให้เกิดความขัดแย้ง แย่งชิงทรัพยากรทางทะเลอย่างไม่มีที่สิ้นสุด หากภาครัฐปล่อยไว้เนิ่นนานยากต่อการแก้ไข จึงจำเป็น อย่างยิ่งที่หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคมรวมถึงคนในชุมชนท้องถิ่น จะต้องหาแนวทางกฎหมายในจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลร่วมกันเพื่อการใช้ประโยชน์ และควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลอย่างยั่งยืน ดังนั้นจากปัญหาข้างต้น จึงเห็นว่าในการจัดการทรัพยากรประมงพื้ นบ้านทางทะเล รัฐควรกำหนดนวัตกรรมทางกฎหมายขึ้นมา เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชุมชนประมงชายฝั่งให้สมดุล กับผลประโยชน์ของชาวประมงอื่นในพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ทั้งนี้เพื่อรักษาความสงบ สุขของชุมชนนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเรื่องการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะ เล เพื่อหาแนวทางกฎหมายร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3