การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

171 ข้อ (ร่าง) ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบ เรื่อง การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลอย่างยั่งยืน พ.ศ. …. ที่มาและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หมวด 3 การอนุรักษ์ทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล 15 เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรประมงพื้นบ้าน ทางทะเล ในเขตขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหาร ส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา โดยกำหนดเขตพื้นที่อนุรักษ์ ทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล (ตามแผนที่แนบท้ายข้อบัญญัติ ตามมติ คณะกรรมการในแต่ละเขตพื้นที่นั้น) 1) จากแนวคิดการกระจายอำนาจ การเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่ เข้ามามีส่วนร่วม เป็นผู้กำหนดแนวเขตอนุรักษ์ที่ผ่านการตกลงใจร่วมกัน ของสมาชิกภายในชุมชนเอง จะส่งผลให้การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้าน ทางทะเลในพื้นที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นผู้ที่รู้ปัญหาและเข้าใจบริบท ของพื้นที่ หากการกำหนดแนวเขตอนุรักษ์มาจากผู้ที่มีอำนาจจากส่วนกลาง โดยไม่ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ อย่างรอบด้านจะทำให้การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง 2) จากการระดมความคิดเห็นด้วยการสนทนากลุ่มเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และ ผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน เห็นว่า ควรให้อำนาจองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง เป็นผู้ประกาศเขตอนุรักษ์ทรัพยากรประมงพื้นบ้าน ในพื้นที่ของตนเอง เนื่องจากสภาพบริบทของแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน 16 ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล ห้ามมิให้บุคคลใด ทำการประมงทุกชนิด และห้ามกระทุ้งน้ำบริเวณแนวเขตอนุรักษ์ ทั้งนี้ พื้นที่นอกแนวเขตอนุรักษ์ทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล ให้สามารถ ทำการประมงได้ด้วยเครื่องมือการประมงที่ไม่ฝ่าฝืนพระราชกำหนด การประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 1) การกำหนดว่าในเขตอนุรักษ์ ห้ามมิให้บุคคลใดทำการประมงทุกชนิด และ ห้ามกระทุ้งน้ำบริเวณแนวเขตอนุรักษ์ โดยพื้นที่นอกแนวเขตให้สามารถทำได้ แต่ต้องไม่ใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย เป็นไปตามหลักการอนุรักษ์ ทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล โดยการแบ่งเขตพื้นที่เป็นไปเพื่อให้ มีการใช้กฎระเบียบ ข้อบังคับ ปิดกั้นฟื้นที่เพื่อให้เอื้อต่อการที่ทรัพยากร

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3