การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
176 ข้อ (ร่าง) ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบ เรื่อง การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลอย่างยั่งยืน พ.ศ. …. ที่มาและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สะท้อนปัญหาว่า เนื่อ งจากการกระทำความผิดอัน เป็นก ารฝ่าฝืน ข้อบัญญัติท้องถิ่น หากกรณีสัตว์น้ำที่จับได้มีมูลค่าสูงกว่าค่าปรับ จะส่งผลให้ ผู้กระทำผิดไม่เกิดความเกรงกลัว และอาจกระทำผิดซ้ำ ซึ่งการกำหนด โทษปรับผู้ละเมิดเทศบัญญัติตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2510 มาตรา 60 วรรคสอง ห้ามมิให้กำหนด เกินกว่าหนึ่งพันบาท และตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 มาตรา 71 วรรคหนึ่ง มิให้กำหนดโทษปรับเกินหนึ่งพันบาทเช่นเดียวกัน การกำหนด อัตราโทษตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงยังไม่สอดคล้องกับสภาพบริบทของ สังคมในยุคปัจจุบัน อย่างไรก็ตามในพระราชบัญญัติองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 51 วรรคสอง พระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 97 วรรคสอง และ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 มาตรา 70 วรรคสอง มีการกำหนดอัตราโทษจำคุกและหรือปรับสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน ข้อบัญญัติไว้ด้วย แต่มิให้กำหนดโทษจำคุกเกินหกเดือน และหรือปรับเกิน หนึ่งหมื่นบาท ซึ่งผู้แทนกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ กลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มผู้นำชุมชนและผู้ประกอบอาชีพ ประมงพื้นบ้าน เห็นตรงกันว่าควรมีการกำหนดอัตราโทษปรับ โดยกำหนดให้ ปรับ 5 เท่าของมูลค่าสัตว์น้ำแล้วแต่อย่างหนึ่งอย่างใดสูงกว่า เพื่อเป็นการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3