การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
180 3. การรับฟังความคิดเห็น (Hearing) กระบวนวิธีการในการจัดทำ (ร่าง) ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบ เรื่อง การจัดการทรัพยากร ประมงพื้นบ้านทางทะเลอย่างยั่งยืนฉบับนี้ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ประกอบด้วย เอกสารจากการทบทวนวรรณกรรม การเก็บข้อมูลจากผลการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผลการระดมความคิดเห็นด้วยการสนทนากลุ่มเจาะจง (Focus group) และ แสดงถึงความเชื่อมโยงข้อมูลในรูปแบบตารางที่ 5 ดังกล่าวข้างต้น เมื่อได้ร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น ต้นแบบ เรื่อง การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลอย่างยั่งยืนแล้ว ผู้วิจัยได้นำไปจัดการ รับฟังความคิดเห็น (Hearing) ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้าน ดังปรากฎข้อคิดเห็นจากผู้ที่เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ดังนี้ ผู้วิจัยได้จัดดำเนินการประชุมความคิดเห็นต่อร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบ เรื่อง การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลอย่างยั่งยืน จัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2565 เวลา 13.00 - 16.00 น. (ทางออนไลน์ Zoom) มีผู้เข้าร่วม จำนวน 11 คน จากหน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนจากกรมประมงและกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นิติกรจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ทั้งในบริบทพื้นที่ของทะเลสาบสงขลา และอ่าวไทย ภาคประชาสังคมจากสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย และนักวิชาการทางด้าน กฎหมายและด้านสังคมชุมชน ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียและมีความเชี่ยวชาญ และผู้ขับเคลื่อนที่ เกี่ยวข้องกับการทำประมงพื้นบ้าน ขบวนการดำเนินรับฟังความคิดเห็น 1) ผู้วิจัยได้นำเสนอด้วยการใช้ Power point โดยเริ่มจากการนำเสนอสาระสำคัญของ เนื้อหาการศึกษา ประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ ประโยชน์ที่คาดว่า จะได้รับ แนวทางการจัดทำร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบ แนวคิดทฤษฎีที่นำมาใช้ในการจัดทำ ได้แก่ แนวคิดการแบ่งปันผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมของประชาช น การจัดการความขัดแย้ง ความสมานฉันท์ในสังคม หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน หลักการกระจายอำนาจ การบริหารปกครอง ส่วนท้องถิ่น โครงสร้างหน้าที่ และกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับประมงพื้นบ้านจำนวน 12 ฉบับและ กฎหมายต่างประเทศ ประกอบด้วย สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ 2) ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในกระบวนการจัดทำร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบ เรื่อง การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลอย่างยั่งยืน 3) สรุปประเด็นอันเป็นสาระสำคัญของโครงสร้างข้อบัญญัติ แบ่งออกเป็น 5 หมวด 24 ข้อ ประกอบด้วย หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 เขตอนุรักษ์ทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล หมวด 3 คณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลตำบล และหมวด 4 กองทุนบริหาร จัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล และหมวด 5 บทลงโทษ เมื่อผู้วิจัยนำเสนอแล้วได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นวิพากษ์ (Comment) ผลของการรับฟังความคิดเห็นนี้ได้นำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น ต้นแบบ เรื่อง การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลอย่างยั่งยืน อีกครั้ง จนกระทั้งได้ ร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบ ปรับปรุงและเหตุผลในการแก้ไข ดังปรากฎตามตารางที่ 6
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3