การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

8 พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2565 และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1.4.2 ขอบเขตด้านพื้นที่ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในเขตการทำประมงพื้นบ้านในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และจังหวัดปัตตานี เนื่องจากบริบทของพื้นที่เหล่านี้แสดงให้เห็นถึง ความหลากหลายของระบบนิเวศธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความแตกต่างหลากหลายทางด้านสังคม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ศาสนา และวัฒนธรรมของผู้คนที่ผสมผสานกัน 1.4.3 ขอบเขตผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ใน เก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยสนาม (Field research) ประกอบด้วย 3 วิธี ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญกลุ่มหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน และภาคประชาสังคม การระดมความคิดเห็นด้วยการสนทนากลุ่มเจาะจง (Focus group) ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนท้องถิ่น และผู้ประกอบอาชีพประมง พื้นบ้าน และการรับฟังความคิดเห็น (Hearing) ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญกลุ่มหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการ ภาคประชาสังคม ผู้นำชุมชนท้องถิ่น และผู้ประกอบอาชีพ ประมงพื้นบ้าน 1.5 กรอบแนวคิดการวิจัย จากสภาพปัญหาการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลที่มีการอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ สาธารณประโยชน์ในทะเล ซึ่งมีการบุกรุก รวมถึงการซื้อขายพื้นที่สาธารณประโยชน์ทางทะเล เพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากสัตว์น้ำด้วยการปลูกสร้างหรือล้อมคอกเป็นบริเวณเขตพื้นที่ เป็นเหตุ ให้ชาวบ้านไม่สามารถเข้าไปจับสัตว์น้ำในบริเวณดังกล่าวได้ เกิดประเด็นข้อพิพาท กลายเป็น ความขัดแย้งในหลายจังหวัดชายฝั่งทะเล แม้จะมีกฎหมายกำหนดความผิดการบุกรุกพื้นที่ สาธารณประโยชน์ทางทะเลไว้ชัดเจน แต่ยังคงมีการฝ่าฝืนกฎหมาย แสดงถึงประสิทธิภาพในการ บังคับใช้กฎหมายที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ การจัดการพื้นที่สาธารณประโยชน์ทางทะเล เพื่อป้องกันมิให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลที่มีอยู่อย่างจำกัดเป็นสิ่งสำคัญ ในอนาคต หากยังไม่มีการจัดการทรัพยากรทะเลที่ดีและจริงจัง จะก่อให้เกิดความขัดแย้งแย่งชิงทรัพยากร ทางทะเลอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แม้จะมีกฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องบังคับใช้แต่เป็นไปในลักษณะ กำหนดไว้กว้าง ๆ ซึ่งอาจไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพบริบทของแต่ละพื้นที่ ภายใต้แนวคิด ที่ว่ากฎหมายจะต้องไม่ถูกจำกัดเฉพาะที่จะต้องออกจากส่วนกลางเท่านั้น แต่กฎหมายจะต้องเป็น สิ่งที่คนในชุมชนหรือคนในพื้นที่ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงจะต้องเข้ามาส่วนร่วมออกแบบและ ตกลงร่วมกัน การวิจัยนี้จึงมีแนวคิดที่จะจัดทำร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรประมง พื้นบ้านทางทะเลเพื่อเป็นต้นแบบให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการนำไปปรับใช้ให้สอดคล้อง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3