การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผล ปัญหาข้อพิพาทและการแย่งชิงทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ ในการเข้าใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลพื้นที่สาธารณประโยชน์ทุกคนว่ามีสิทธิใช้ประโยชน์ร่วมกัน ประมงพื้นบ้านประสบปัญหาจับสัตว์น้ำได้น้อยลงมีรายได้ลดน้อยลง ขาดการจัดการทรัพยากรประมง พื้นบ้านทางทะเลร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงภาคเอกชนและชุมชนท้องถิ่น ในแต่ละพื้นที่ยัง พบปัญหาการใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายที่เป็นการทำลายและตัดวงจรชีวิตสัตว์น้ำวัยอ่อนทำให้ สัตว์น้ำลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการรวมกลุ่มกันของชาวประมงพื้นบ้านทำกิจกรรม ด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ กำหนดกฎกติกา ข้อตกลงชุมชนในการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ สาธารณประโยชน์ทางทะเลร่วมกัน ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำกลับมามีความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง อย่างไรก็ตามกฎกติกา ข้อตกลงชุมชนเป็นเพียงสิ่งที่ชาวบ้านตกลงร่วมกันไม่สามารถบังคับใช้กับ คนภายนอกชุมชนได้เนื่องจากยังไม่มีสถานะเป็นกฎหมายอย่างแท้จริง ในการจัดทำร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบ เรื่อง การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทะเล อย่างยั่งยืนนี้ ได้นำเอาข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมที่เป็น แนวคิด ทฤษฎี หลักการ และ กฎหมายทั้งของต่างประเทศและประเทศไทยมาวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากผู้ให้ข้อมูลที่การวิจัยได้ กำหนดไว้ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การระดมความคิดเห็นด้วยการสนทนากลุ่มเจาะจง การรับฟังความคิดเห็น ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้เสียโดยตรงกับการจัดการทรัพยากรประมง พื้นบ้านทางทะเล ในการนำประเด็นที่เป็นสาระสำคัญสมควรที่จะนำมาบัญญัติไว้ในร่างข้อบัญญัติ ท้องถิ่นต้นแบบฯ ที่จัดทำขึ้นฉบับนี้ โดยสรุปข้อค้นพบได้ดังนี้ 5.2 อภิปรายผล 5.1.1 ประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล พบว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของ ประชาชนไว้ตามมาตรา 43 ให้บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ จัดการ บำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน ใน การ ดำเนินการอาจร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือรัฐ มีการกำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา 57 (2) ที่ต้องอนุรักษ์ คุ้มครอง บำรุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการ และใช้หรือจัดให้มีการ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดประโยชน์ อย่างสมดุลและยั่งยืน โดยให้ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการ และได้รับประโยชน์ อย่างไรก็ตาม มิใช่บทบาทหน้าที่รัฐหรือชุมชนเท่านั้น ตามมาตรา 50 ยังเป็น หน้าที่ของประชาชนทุกคนที่ต้องร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรเกิดความยั่งยืน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3