การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

197 สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำประมง พบว่า พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มุ่งเน้นการบริหารจัดการด้านการประมงและการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ ให้ความ ช่วยเหลือหรือสนับสนุนประมงพื้นบ้านและชุมชนประมงท้องถิ่น อีกทั้งกำหนดมาตรการในการ ป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามยังมีบางมาตราที่เป็นอุปสรรค ส่งผลกระทบกับชาวประมงพื้นบ้าน เช่น ตามมาตรา 34 ที่ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมง พื้นบ้าน ทำการประมงในเขตทะเลนอกชายฝั่ง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต หากพิจารณามาตรา 4 กำหนดให้ชาวประมงพื้นบ้านสามารถทำการประมงได้เฉพาะในเขตทะเลชายฝั่งที่กำหนดไว้เพียง สามไมล์ทะเล แม้จะมีการกำหนดข้อยกเว้นไว้กรณีมีความจำเป็นก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวเป็นการจำกัด พื้นที่ขัดกับวิถีการทำประมงของชาวประมงพื้นบ้านที่ดำเนินชีวิตอยู่เพื่อหาเลี้ยงชีวิต เนื่องจากสัตว์น้ำ ที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติมีการว่ายเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลามิได้ถูกจำกัดด้วยขอบเขตพื้นที่ ส่งผลกระทบ ต่อผู้ทำประมงไม่สามารถจับสัตว์น้ำเพื่อการยังชีพในแต่ละวันได้ และรายได้ลดน้อยลง ประกอบกับ หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุน ดำเนินร่วมกับประชาชน ชุมชนชายฝั่ง และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ในการบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟูและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่งตามมาตรา 13 พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 สะท้อนให้เห็นว่า หน่วยงานภาครัฐให้การส่งเสริมสนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดมา และ จากข้อมูลสัมภาษณ์พบว่าหน่วยงานภาครัฐมีงบประมาณสนับสนุนด้านการทำประมงพื้นบ้านทะเล มาอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงพอต่อชุมชนท้องถิ่นนั้น การจะได้งบประมาณต้องรวมตัวกันตั้ง เป็น องค์กรชุมชนท้องถิ่นเพื่อได้รับงบประมาณจากรัฐ แม้ว่ารัฐจะให้การสนับสนุนในชุมชน พบว่า ยังมีผู้กระทำผิดโดยใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมายในการทำประมงพื้นบ้านที่พยายามแก้ไขปัญหา มาอย่างต่อเนื่อง ต่อมาชาวประมงพื้นบ้านได้รวมกลุ่มกัน เพื่อจัดการแก้ไขปัญหาจากก ารทำประมง ผิดกฎหมาย พบว่า กลุ่มชาวประมงและชุมชนท้องถิ่นได้หารูปแบบเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยวิธีการวางซั้งบ้านปลา เพื่อให้แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน พร้อมกับการอนุรักษ์และฟื้นฟู ทรัพยากรสัตว์น้ำเพื่อลดปัญหาการกระทำผิดกฎหมายและลดปัญหาการขัดแย้งจากการแย่งชิงพื้นที่ ทำประมง นอกจากนี้ พบว่า การวางซั้งบ้านปลา เป็นการปลูกสร้างสิ่งอื่นใดเป็นลักษณะการรุกล้ำ ตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2535 มาตรา 117 เกี่ยวกับการปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำน้ำ ซึ่งประเด็นนี้มีบันทึก สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 7) เรื่อง การวาง “ซั้ง” เป็นการปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ หรือไม่ เรื่องเสร็จที่ 180/2550 ตอบข้อหารือกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวีในขณะนั้น ซึ่งปัจจุบันคือกรมเจ้าท่าว่า ลักษณะของซั้งไม่ได้มีโครงสร้างส่วนหนึ่งส่วนใดยึดติดกับพื้นดินหรือฝังลง ในดิน เพื่อมิให้มีการเคลื่อนที่ไปมา แม้ว่าการวางซั้งจะมีเครื่องถ่วงน้ำหนักซึ่งเป็นลูกปูนถ่วงอยู่ แต่ก็มิได้ยึดติดกับพื้นดินใต้ทะเลแต่อย่างใด ยังสามารถเคลื่อนที่ไปมาตามกระแสน้ำได้ และไม่มี ลักษณะเป็นการถาวรเนื่องจากมีระยะการใช้งานเพียงชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น การวางซั้งจึงไม่เป็น การปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำน้ำตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อย่างไรก็ตาม “ซั้ง” จัดเป็นเครื่องมือทำการประมงประเภทหนึ่ง ซึ่งกรมประมงมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการให้เป็นไป

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3