การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
199 จัดการ บำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึง ทรัพยากรประมง” การกำหนดอัตราโทษ ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 สำหรับผู้ฝ่าฝืนข้อบัญญัติไว้ในมาตรา 51 วรรคสอง ที่ว่า “ในข้อบัญญัติจะกำหนดโทษผู้ละเมิด ข้อบัญญัติไว้ด้วยก็ได้ แต่ห้ามมิให้กำหนดโทษจำคุกหกเดือน และหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท เว้นแต่ จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น” พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 97 วรรคสอง ที่ว่า “ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะกำหนดโทษผู้ละเมิด ข้อบัญญัติไว้ด้วยก็ได้ แต่มิให้กำหนดโทษจำคุกเกินหกเดือน และหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท” และ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 มาตรา 70 วรรคสอง ที่ว่า “ในข้อบัญญัติตามวรรคหนึ่งจะกำหนดโทษจำคุกหรือโทษปรับหรือทั้งจำและปรับผู้ละเมิดข้อบัญญัติ ไว้ด้วยก็ได้ แต่จะกำหนดโทษจำคุกเกินหกเดือนและโทษปรับเกินหนึ่งหมื่นบาทไม่ได้” อย่างไรก็ตาม ยังมีพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 จำนวน 2 ฉบับ ที่กำหนดอัตราโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนข้อบัญญัติท้องถิ่น ยังไม่สอดคล้องกับ สภาพทางเศรษฐกิจของสังคมในยุคปัจจุบัน การกำหนดโทษทางอาญาสำหรับผู้กระทำความผิดจะต้องยึดหลักเกณฑ์ที่มีผลกระทบ ต่อส่วนรวมเป็นวงกว้างหรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (คำแนะนำของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่อง การกำหนดโทษอาญาในกฎหมาย, 2562) การกำหนดโทษจำคุกและปรับก็เพื่อให้ผู้ที่จะกระทำ เกรงกลัวกฎหมายอันเป็นการป้องกันมิให้มีการกระทำความผิด ซึ่งอัตราโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนข้อบัญญัติ ท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งสามารถนำข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบฉบับนี้ ไปใช้เป็น แนวทางในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น โดยสามารถปรับใช้ให้เหมาะสมตามสภาพพื้นที่ของตนเอง เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีบริบทแตกต่างกัน จึงได้เสนอแนะ ดังนี้ 1) ปรับแก้ไขอัตราโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 60 วรรคสอง จากเดิม “ในเทศบัญญัตินั้น จะกำหนดโทษปรับผู้ละเมิดเทศบัญญัติไว้ด้วยก็ได้ แต่ห้ามมิให้กำหนดเกินกว่าหนึ่งพันบาท” แก้ไขเพิ่มเติมเป็น “ในข้อบัญญัติตามวรรคหนึ่ง จะกำหนด โทษจำคุกหรือโทษปรับหรือทั้งจำและปรับผู้ละเมิดเทศบัญญัติไว้ด้วยก็ได้ แต่ห้ามมิให้กำหนดโทษ จำคุกเกินหกเดือน และหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น” 2) ปรับแก้ไขอัตราโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 71 วรรคหนึ่ง จากเดิม “องค์การบริหารส่วนตำบลอาจออกข้อบัญญัติ องค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อ กฎหมายเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมื่อมีกฎหมาย บัญญัติให้องค์การบริหารส่วนตำบลออกข้อบัญญัติหรือให้มีอำนาจออกข้อบัญญัติ ในการนี้จะกำหนด ค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้ แต่มิให้กำหนดโทษปรับ เกินหนึ่งพันบาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น” แก้ไขเพิ่มเติมเป็น “องค์การบริหาร ส่วนตำบลอาจออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหาร ส่วนตำบล หรือเมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้องค์การบริหารส่วนตำบลออกข้อบัญญัติหรือให้มีอำนาจ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3