การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

200 ออกข้อบัญญัติ ในการนี้จะกำหนดโทษจำคุกหรือโทษปรับหรือทั้งจำและปรับผู้ละเมิดข้อบัญญัติไว้ ด้วยก็ได้ แต่ห้ามมิให้กำหนดโทษจำคุกเกินหกเดือน และหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท เว้นแต่จะมี กฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น” 5.1.3 ประเด็นการทำประมงพื้นบ้านในเขตทะเลชายฝั่งไม่ว่าจะเรือประมงหรือใช้เครื่องมือ โดยไม่ใช้เรือประมงให้ผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน พบว่า สามารถทำประมงในเขตทะเลชายฝั่งได้ นับจากแนวชายฝั่งทะเลออกไปสามไมล์ทะเลเท่านั้น ตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 5 กำหนดให้ทำประมงออกไปไกลกว่าสามไมล์ทะเลได้ จะต้องมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ ในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ และต้องออกไปทำประมงไกลกว่าสามไมล์ทะเล ต้องออกเป็น กฎกระทรวง แต่การออกไปนั้นต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งจุดห้าไมล์ทะเล และไม่เกินสิบสองไมล์ทะเล จากข้อกำหนดของกฎหมายเกี่ยวกับการทำประมงพื้นบ้าน เห็นได้ว่า ไม่ตรงกับวิถีลักษณะของ ผู้ทำประมงพื้นบ้าน เพราะประมงพื้นบ้านหลายจังหวัดทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง การที่รัฐ กำหนดพื้นที่ทำประมง ส่งผลให้ชาวประมงพื้นบ้านถูกจำกัดสิทธิและไม่ได้รับความเป็นธรรมในการ ประกอบอาชีพ อีกทั้งมาตรา 34 กำหนดพื้นที่ทำประมงว่า ห้ามผู้ที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมง พื้นบ้าน ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดี มอบหมาย ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านที่ได้รับใบอนุญาตทำประมง ไม่สามารถออกไปทำประมงนอกเขต ทะเลชายฝั่งได้ หากไปทำประมงนอกเขตทะเลชายฝั่งต้องได้รับการอนุญาตก่อน เป็นการกำหนดพื้นที่ ทำการประมงเช่นนี้ขัดกับวิถีทำประมงของชาวประมงพื้นบ้านทางทะเล ประเด็นนี้กลุ่ม ภาคประชาสังคมโดยนายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทยได้ขับเคลื่อน โดยยื่นข้อเสนอเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมให้กับผู้ทำประมง พื้นบ้าน เห็นควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 5 คำนิยามใหม่เป็น “...ประมงพื้นบ้าน หมายความว่า การทำประมงในเขตทะเลไม่ว่าจะใช้เรือประมง หรือใช้เครื่องมือโดยไม่ใช้เรือประมง โดยผู้ทำการประมงต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย และในกรณีที่ใช้ เรือประมง เจ้าของเรือหรือคนในครอบครัวต้องเป็นผู้ลงเรือออกไปทำการประมงด้วยตนเอง และ มีการใช้แรงงานอีกไม่เกินสี่คน ทั้งนี้ ที่มิใช่เรือประมงพาณิชย์...” และให้ยกเลิกมาตรา 34 เพื่อมิให้ เป็นการขัดต่อคำนิยามมาตรา 5 ที่กำหนดขึ้นใหม่ ส่วนรูปแบบการจัดประมงพื้นบ้านของการวางซั้งบ้านปลา พบว่า แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ วัยอ่อนที่เกิดจากภูมิปัญญาด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำของชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ สาธารณประโยชน์ทางทะเลจะเป็นการขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2535 มาตรา 117 เกี่ยวกับการปลูกสร้าง อาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำน้ำ ซึ่งประเด็นนี้มีบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 7) เรื่อง การวาง “ซั้ง” เป็นการปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำหรือไม่ เรื่องเสร็จที่ 180/2550 ตอบข้อหารือ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวีในขณะนั้นซึ่งปัจจุบันคือกรมเจ้าท่าว่าลักษณะของซั้ง ไม่ได้มีโครงสร้างส่วนหนึ่งส่วนใดยึดติดกับพื้นดินหรือฝังลงในดิน เพื่อมิให้มีการเคลื่อนที่ไปมา แม้ว่าการวางซั้งจะมีเครื่องถ่วงน้ำหนักซึ่งเป็นลูกปูนถ่วงอยู่ แต่ก็มิได้ยึดติดกับพื้นดินใต้ทะเล แต่อย่างใด ยังสามารถเคลื่อนที่ไปมาตามกระแสน้ำได้ และไม่มีลักษณะเป็นการถาวรเนื่องจากมีระยะ การใช้งานเพียงชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น การวางซั้งจึงไม่เป็นการปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3