การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

201 ล่วงล้ำลำน้ำตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อย่างไรก็ตาม “ซั้ง” จัดเป็นเครื่องมือทำการประมงประเภท หนึ่ง ซึ่งกรมประมงมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่ง คณะกรรมการ กฤษฎีกา (คณะที่ 7) ให้ความเห็นว่าให้มีการประสานกันระหว่างหน่วยงานเพื่อประกาศกำหนด เขตพื้นที่ที่อนุญาตให้มีการวางซั้งในพื้นที่ที่เหมาะสมหรือแก้ไขกฎหมายต่อไป 5.1.4 นวัตกรรมด้านกฎหมายในรูปแบบของร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบในการจัดการ ทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล จากการศึกษาพบว่ามีชาวบ้านหลายพื้นที่ได้ตั้งกฎกติกา ข้อตกลงชุมชนเกี่ยวกับ การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลและบังคับใช้ในพื้นที่ของตนเอง เกิดการยอมรับและ เคารพกฎกติกาข้อตกลงชุมชนร่วมกัน แต่ทั้งนี้กฎกติกาข้อตกลงชุมชนดังกล่าวยังไม่มีสถานะ เป็นกฎหมาย จึงทำให้ไม่สามารถบังคับใช้กับชาวบ้านจากภายนอกชุมชนได้ จึงควรผลักดัน ให้กฎกติกาข้อตกลงชุมชนที่มีอยู่ทุกพื้นที่เป็นกฎหมายในรูปแบบของร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นโดยผ่าน กระบวนการออกกฎหมายจากองค์กรปกครองส่วนถิ่นซึ่งเป็นองค์กรที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ ย่อมรับรู้และเข้าใจปัญหาของชาวบ้านได้ดีที่สุด ขบวนวิธีการได้ ร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบ เรื่อง การจัดการทรัพยากรประมง พื้นบ้านทางทะเลอย่างยั่งยืน เป็นการรวบรวมข้อมูลจากแนวคิดทฤษฎี กฎหมายไทยและต่างประเทศ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการประมงพื้นบ้าน ทางทะเล รวมจำนวน 23 คน มาจากผู้แทน 5 กลุ่ม เป็นระดับผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้แทนจากกรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมเจ้าท่า องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ภาคประชาสังคมจากสมาคมรักษ์ทะเลไทย และสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และจังหวัดปัตตานี จากนั้นจึงนำผลการสัมภาษณ์ มาสังเคราะห์และระดมความคิดเห็นด้วยการสนทนากลุ่มเจาะจง (Focus group) จากผู้มีส่วนได้เสีย และมีประสบการณ์โดยตรงเกี่ยวกับการจัดการประมงพื้นบ้านทางทะเล ในพื้นที่จังหวัดสงขลา รวมจำนวน 10 คน จากกลุ่มหน่วยงานภาครัฐ ผู้แทนจากกรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง กรมเจ้าท่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนท้องถิ่น และผู้ประกอบอาชีพ ประมงพื้นบ้าน และได้ร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบ เรื่อง การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้าน ทางทะเลอย่างยั่งยืน เพื่อให้ร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบฯ มีความสมบูรณ์ผู้วิจัยได้นำไปจัดรับฟัง ความคิดเห็น (Hearing) จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ และเกี่ยวข้องประมงพื้นบ้านทางทะเลจำนวน 11 คน ประกอบด้วย กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ กรมประมง และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและผู้ประกอบอาชีพประมง ภาคประชาสังคมจากสมาคม สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย และนักวิชาการทางด้านกฎหมายและด้านสังคมชุมชน หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติมร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นแต่ละข้อ เพื่อให้มีความชัดเจน สมบูรณ์ตรงตามความประสงค์ในการนำไปใช้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3