การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

206 (4) เพื่อสร้างความเข้มแข็ง และพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการให้กับบุคคล และ องค์กรชุมชน ในการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล (5) ส่งเสริมและสนับสนุนให้จัดทำข้อตกลงกฎกติกาของชุมชนในการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล หมวด 2 คณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล ข้อ 7 ให้มีคณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย (1) ผู้บริหารท้องถิ่น เป็น ประธาน (2) กำนันตำบล เป็น รองประธาน (3) ประธานสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็น รองประธาน (4) สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากหมู่บ้านอยู่ติดชายทะเล เป็น กรรมการ (5) ผู้ใหญ่บ้านที่พื้นที่หมู่บ้านอยู่ติดชายทะเล เป็น กรรมการ (6) ผู้แทนกลุ่มองค์กรชุมชนในพื้นที่ที่มีวัตถุประสงค์ และการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งเป็นที่ประจักษ์ เป็น กรรมการ (7) ประมงอำเภอ เป็น กรรมการ (8) ผู้แทน สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (รับผิดชอบพื้นที่) เป็น กรรมการ (9) ผู้แทน สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขา (รับผิดชอบพื้นที่) เป็น กรรมการ กรรมการตาม (6) ให้เลือกโดยที่ประชุมสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการต้องจัดให้มีการประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และให้คณะกรรมการ ตาม (6) มีวาระคราวละ 2 ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่ได้แต่ต้องไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน ข้อ 8 การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน กรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุมครั้งใด ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ ได้ให้รองประธานกรรมการทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ถ้ารองประธานกรรมการไม่มาประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธาน ในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ใช้กระบวนการปรึกษาหารือจนได้ข้อยุติ กรณีที่ไม่สามารถหาข้อยุติได้ที่ประชุมอาจมีมติให้ใช้วิธีลงคะแนนได้ โดยใช้เสียงข้างมากของกรรมการ ที่เข้าร่วมประชุม กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธาน ในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3